วันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

รักแม่แสดงออกได้หลากหลายวิธี

        ครั้งที่ 7 
การเขียน

  

             ในฐานะที่เป็นครูหนึ่งในเป้าหมายหลัก  คือการสร้างความรู้สึกและบรรยากาศของความเป็นนักเรียนในห้องเรียน เด็กควรเห็นว่าเขาห้อมล้อมไปด้วยเพื่อนนักเขียนในชั้นซึ่งกำลังใช้ความคิดความพยายามและในขณะเดียวกันก็พร้อมที่จะช่วยเหลือเมื่อต้องการ เด็กจำเป็นต้องมีความรู้สึกอุ่นใจว่าได้รับการสนับสนุนจากครูและเพื่อนร่วมชั้น การสร้างบรรยากาศในห้องเรียนซึ่งจะช่วยพัฒนาความสามารถในการเขียนและสนับสนุนให้เด็กกล้าแสดงออก มีข้อเสนอแนะดังนี้
๑.      เปิดโอกาสให้เด็กได้เลือกหัวข้อที่จะเขียนเองแทนที่ครูจะเป็นผู้กำหนด (ครูนำเสนอหัวข้อให้เด็ก
เลือก )
๒.     ให้เด็กมีเวลาในการเขียนอย่างเพียงพอ พิจารณาเวลาเรียนโดยรวมและให้เด็กได้มีโอกาสเขียน
ตลอดทั้งวัน
๓.     ปล่อยให้เด็กเป็นผู้ตัดสินใจ ให้อิสระกับเด็กในการที่จะเขียนเรื่องใหม่ ๆ ในแต่ละวัน หรือเขียน
เรื่องต่อจากเมื่อวานที่เริ่มต้นไว้แล้ว
๔.     เปิดโอกาสให้เด็กใช้ความคิดในการนำเสนอการเขียนที่หลากหลายรูปแบบในขณะที่หัวข้อหรือ
ประเด็นเดียวกัน

กระบวนการเขียน
               ๕ ขั้นตอนในกระบวนการเขียนปรากฏในหน้าที่ ๑๘ ไม่จำเป็นที่งานทุกชิ้นจะต้องผ่าน ๕ ขั้นตอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับการของเด็ก และยังขึ้นอยู่กับเป้าหมายของหลักสูตรและจุดประสงค์ของการเขียนที่จะบอกได้ว่าเด็กคนนั้นผ่านกี่ขั้นตอน

                          การคิดสะกดคำขึ้นมาเองเกี่ยวข้องอย่างไรกับกระบวนการเขียน
               การเขียนการบรรยายอย่างเป็นธรรมชาตินั้นคือการยอมรับการสะกดคำที่เด็กคิดขึ้นเองว่าเป็นเรื่องธรรมชาติของเด็ก ซึ่งเริ่มต้นที่จะเขียน แต่ยังไม่รู้วิธีการสะกดคำที่ถูกต้อง เด็กควรได้รับการสนับสนุนให้คิดตัวสะกด หรืพยายามเข้าใจระบบการรวมตัวของอักษร ในขณะที่เขากำลังถ่ายทอดความคิดลงบนกระดาษ เขาเขียนคำตรงไปตรงมาตามที่เขาได้ยิน หรือจากที่เห็นในความคิดจินตนาการเองการสร้างคำมักจะเริ่มต้นจากการเขียนพยัญชนะต่อ ๆ กัน จนเมื่อเด็กมีความเข้าใจในเรื่องความสัมพันธ์ระกว่างพยัญชนะและเสียง เด็กจึงระเริ่มเชื่อมสาระกับตัวพยัญชนะเข้าด้วยกันเป็นลำดับต่อมาจึงเรียกว่าสะกดตัวหนังสือ
            


  เราไม่ได้ละทิ้งความสำคัญของการสะกดที่ถูกต้อง                             ขั้นตอนในการเขียน
ตามหลัดไวยากรณ์ ตรงกันข้าม เด็กจะต้องเขียนให้ถูกต้อง                           ๑. ก่อนเขียน
ในที่สุด หลังจากที่ผิดมาแล้วครั้งเดียว หรือนับครั้งไม่ถ้วนก็ตาม                      ๒. ร่างแรก
แต่สิ่งที่สำคัญกว่านั้นคือการสื่อความหมาย การสะกดคำเป็น                          ๓. ทบทวน
เพียงกลไกตัวหนึ่งในการเขียนที่เด็กจะต้องเรียนรู้                                    ๔.ตรวจทาน
                                                                                            ๕.พิมพ์

• การเขียนบทเรียนสั้น ๆ เป็นโอกาสที่แท้จริงที่เด็กจะเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องการออกเสียง (Phoenics)
• ธนาคารศัพท์ พจนานุกรมส่วนตัวละเพื่อนที่ช่วยสะกดคำจะเป็นตัวสนับสนุนนักเขียนรุ่นเยาว์ในการที่เขาจะพัฒนาการเขียนคำอย่างถูกต้อง ด้วยการค้นพบคำที่ถูกต้องเอง และแก้ไขตัวเองให้เขียนได้ถูกต้องในที่สุด โดยครูไม่สร้างทัศนคติเชิงลบให้ แต่เป็นผู้ชี้นำให้ค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลที่ถูกต้องได้

กระบวนการเขียนอย่างเป็นขั้นตอน
๑.      ขั้นตอนก่อนการเขียน จุดเริ่มต้น
• ให้เวลาคิดและคุยเกี่ยวกับความคิดต่าง ๆ ที่เป็นประสบการณ์เดิม
• ระดมความคิดทั้งชั้นหรือกับเพื่อนคู่หูในเรื่องที่จะเขียน
• ฟังและอ่านวรรณกรรมที่มีคุณภาพอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
• สร้างบรรยากาศสภาพแวดล้อมในห้องเรียนที่เอื้อต่อการเขียน
• เข้าห้องสมุด นำเหตุการณ์ในห้องเรียนมาสร้างสรรค์เป็นงานเขียนนิตยสาร
• ออกนอกห้องเรียน เพื่อฝึกการสังเกตสิ่งแวดล้อม และบันทึกอย่างเป็นระบบ
• ใช้ประสบการณ์ด้านศิลปะเป็นแรงบันดาลใจเพื่องานสร้างสรรค์ที่ตนเองสนใจ
๒.        ร่างแรก การถ่ายทอดความคิดลงบนกระดาษ
• เลือกจุดประสงค์ในการเขียน : บอกเล่า ชักชวน สร้างบรรยากาศที่ชวนสนุก
การอธิบาย (หรือบรรยาย)
• รู้ว่าใครคือผู้อ่านงานของเรา
• ถ่ายทอดความคิดลงบนกระดาษอย่างรวดเร็ว (ตามธรรมชาติ)   
• กำหนดทิศทางและไม่หลุดประเด็นหัวข้อ (ครูช่วยบ้างในระยะแรก)
นำเสนอ รูปแบบ วิถีการเรียนรู้ต่าง ๆ ผ่านวรรณกรรม 
3.ทบทวน-ทำให้ถูกต้อง
·       ให้เพื่ออ่านเรื่องที่เขียน เพื่อฟังความคิดเห็น
·       สนใจฟังว่ามีจุดไหนที่ควรได้รับการแก้ไข ( การอ่านซ้ำ ดูลายละเอียด การอธิบายให้เกิดความชัดเจนยิ่งขึ้น ) และมาทบทวนงานอีกครั้ง
·       อ่านเรื่องที่เขียนให้เพื่อนในกลุ่มฟังและขอข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ในการปรับปรุงอีกครั้ง
·       เพิ่มเติม ตัดต่อและเปลี่ยนแปลงส่วนที่จำเป็น เพื่อความถูกต้อง
4.ตรวจแก้-สำรวจ ความถูกต้องตลอดเรื่อง
·       ตรวจทานการเว้นวรรคตอนและการจัดประโยค คำศัพท์
·       ตรวจทานไวยกรณ์
·       ใช้พจนานุกรมหรือให้เพื่อนช่วยแก้ไขตัวสะกด
·       ใช้ตารางการตรวจสอบของนักเรียน
5.การตีพิมพ์-การแสดงความยินดีต่อผลงานเขียน (ในระดับอนุบาลให้ทำไปตามขั้นตอนนี้)
·       ให้เล่าเรื่องด้วยปากเปล่าให้ทั้งชั้นฟัง
·       ทำหนังสือและออกแบบหน้าปก
·       นำผลงานติดแสดงในโรงเรียนหรือในห้องสมุด
·       อ่านเรื่องใส่เครื่องบันทึกเสียง (หรือบันทึกเสียงเรื่องที่เขียนขึ้นมา)
·       รวบรวมเรื่องทั้งหมดเป็นหนังสือสำหรับใช้ในห้องเรียน
·       ติดเรื่องต่างๆบนผนังแสดงผลงาน
·       อ่านเรื่องที่เขียนให้ครูใหญ่ฟัง (เชิญมาที่ห้องเพื่อบรรยากาศที่ตื่นเต้นเร้าใจ)



วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กระบวนการเรียนรู้ภาษาอย่างธรรมชาติแบบองค์รวม

  ครั้งที่  6
              นำเสนอการเล่านิทานโดยใช้นิทานทั่วไป นิทานเล่มใหญ่ นิทานอิเลคทรอนิค
การบันทึกการสังเกตพฤติกรรมจะต้องเป็นพฤติกรรมที่เด็กแสดงไม่ลงความเห็นของผู้สังเกตและรวบรวมพฤติกรรมที่สังเกตได้มาสรุปและประเมินพฤติกรรมพร้อมลงความเห็น
 การเล่านิทานมีกระบวนการที่ส่งเสริมทักษะภาษา
 การใช้คำถามใคร...... ทำอะ ที่ไหน เมื่อไหร่ เมื่อต้องการให้แสดงความจำเนื้อหาในนิทาน
 การใช้คำถาม.....ทำอย่างไร เพื่อให้ใช้ภาษาอธิบายกระบวนการหรือขั้นตอนในนิทาน
 การใช้คำถาม.....ถ้าเป็นหนูหนูจะทำอย่างไร  เพื่อให้ใช้ภาษาอธิบายวิธีการแก้ปัญหา
 การใช้คำถาม.....ถ้าเป็นหนูหนูจะทำเหมือน........ในนิทานหรือไม่ เพราะอะไร เพื่อให้เด็กคิดและแสดงการตัดสินใจโดยใช้ภาษาอธิบายเหตุผล
                     กระบวนการเรียนรู้ภาษาอย่างธรรมชาติแบบองค์รวม

การฟัง             การพูด              การอ่าน               การเขียน
ครูจะวางแผนกิจกรรมอย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไร โดยใช้องค์ประกอบของศิลปะทางภาษาทั้ง 4 ด้าน
            คำว่า องค์รวมในภาษาธรรมชาตินี้  หมายถึง
 แนวคิดที่ให้ผู้เรียน  เรียนรู้โดยมีองค์ประกอบทั้ง  4  ด้าน 
คือ  การฟัง  พูด  อ่าน  เขียน  ไปพร้อมๆกัน  ไม่ใช่การ
เรียนแบบแยกส่วน  เด็กจะประสบความสำเร็จสูงสุดก็ต่อ
เมื่อได้ใช้องค์ประกอบทั้งหมดอย่างเต็มที่ในกระบวนการ
เรียนการสอน  ดังนั้นครูจะเป็นผู้จัดสรร  ประสบการณ์ที่มี
ความหมายต่อเด็กในด้านการฟัง  พูด  อ่าน  เขียน  ในชีวิต
ประจำวัน  เพื่อปูพื้นฐาน  ทักษะและความสามารถ
ประกอบด้วยการเรียนภาษาที่ครบทั้ง  4  ด้าน  และต้องให้
เด็กได้เชื่อมโยงองค์ประกอบทั้งหมดเข้าด้วยกันอย่างเป็น
ธรรมชาติและเป็นธรรม
การฟังและการพูด
       เด็กเล็กๆ  สามารถพัฒนาภาษาพูดได้อย่างเป็นธรรมชาติ  เขาเรียนรู้คำศัพท์  การออกเสียง  การแสดงความรู้สึกและรูปแบบของการพูดโดยการฟังและการพูดภาษาของเขาเองความจำเป็นในการฝึกให้เกิดความสามารถในการใช้ภาษาพูดเป็นพื้นฐานของความสำเร็จในการอ่านและการเขียน
       จึงควรให้ความสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่ได้ฝึกฟังและพูดทุกวันเด็กจะสร้างความมั่นใจและภาคภูมิใจในตนเองและพัฒนาความมั่นใจในเรื่องคำศัพท์  โดยผ่านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการทางภาษา ลองมาดูความหลากหลายของกิจกรรมการฟังและการพูดในกิจวัตรประจำวัน  ดังนี้
    
กิจกรรมเกี่ยวกับการฟังสำหรับเด็ก
     1. ฟังเทปนิทาน  หรือหนังสือสำหรับเด็ก
     2. ฟังเทปที่อัดเสียงต่างๆ (เสียงน้ำไหล  เสียงประตูปิด  เสียงสุนัขเห่า  ฯลฯ)  แล้วบอกว่าเป็น
         เสียงอะไร
     3. อัดเทปขณะอ่านหนังสือและฟังเทปนั้น
     4. ฟังคนอ่านนิทานและเขียนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเรื่องตามลำดับก่อน-หลัง
     5. อ่านหนังสือที่มีเรื่องเสียงให้ฟังและตั้งคำถาม
     6. ฟังการรายงานข่าววิทยุหรือโทรทัศน์และพูดคุยในเรื่องเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น(ครูกรองข่าวก่อน)
     7. เล่นเกมส์  ฉันสั่งว่าฉันบอกให้เธอ
      8. ปฏิบัติตามคำสั่งด้วยวาจาตามลำดับขั้นตอน
      9. ไล่เรียงพยัญชนะ  เลขและคำต่างๆ
     10. ฟังเสียงสัตว์และบันทึก  หรือเขียนเสียงที่ได้ยินออกมาเป็นคำที่เกิดจากการฟัง (อาจผิดหรือ
           ถูกตามพัฒนาการ)
     11. ฟังเทปบันทึกต่างๆ  และพูดสนทนาถึงเรื่องที่ฟังในเชิงสร้างสรรค์
     12. ฟังเสียงประกาศในตอนเช้า
     13. ฟังการพูดจากวิทยากรรับเชิญ
     14. เล่นเครื่องเสียง  เช่น  ตีกระดิ่งและขอให้เพื่อนฟังเสียงจังหวะดังกล่าว  และพยายามเล่นตาม
           ที่ได้ยิน
กิจกรรมนอกห้องเรียน
      1. เดินเล่นข้างนอกและทายเสียงต่างๆ  ที่ได้ยินรอบตัว  (ฟังอย่างตั้งใจ)  จดจำไว้  แล้วจึงมา
          สรุปอีกครั้ง  ฝึกแยกแยะเสียงจากธรรมชาติและที่ไม่เป็นธรรมชาติ  (สิ่งประดิษฐ์)
      2. เล่นเครื่องเสียง  เช่น  ตีกระดิ่งและขอให้เพื่อนฟังเสียงจังหวะดังกล่าว  และพยายามเล่นตาม
          ที่ได้ยิน
      3. ฝึกการฟังที่อยู่ระยะใกล้ ระยะไกล  ให้เพื่อน ๆ พูดกระซิบใกล้หู  แล้วเดินห่างออกไปสอง
          ระยะสามระยะ  เพื่อเชื่อมโยงว่าระดับเสียงกับระยะทางนั้นสัมพันธ์กัน
กิจกรรมเกี่ยวกับการพูดสำหรับเด็ก
      1. ลองเล่าซ้ำสิ่งที่ได้ฟัง
      2. เล่นบทบาทสมมติจากนิทาน
      3. ท่องบทกลอนหรือบทเพลง
      4. อ่านนิทานออกเสียงดัง
      5. อ่านบทเพลง  อ่านโคลง  ฉันท์  กาพย์  กลอน
      6. เล่าสู่กันฟังในเรื่องต่าง ๆ
      7. รายงานด้วยการอ่านปากเปล่า
      8. อ่านบทของตัวละครจากนิทาน
      9. อ่านรายชื่อหรือรายการที่เขียนไว้
    10. นำการเล่นเกมส์ด้วยการออกคำสั่ง ใช้คำสั่งให้ถูก
    11. ร้องเพลง
    12. อธิบายการทำโครงการตามหัวข้อเรื่องที่เลือก
    13. เล่าถึงหนังสือเล่มที่โปรดปราน
    14. จัดการแสดงละครหุ่นมือ  หรือหุ่นชนิดต่าง ๆ
    15. รายงานข่าวเกี่ยวกับเหตุการณ์ประจำวันที่มีสาระ
    16. พูดคุยเรื่องทีมนักกีฬาท้องถิ่นหรือนักกีฬาทีมชาติที่ชื่นชอบ
    17. ระดมสมองในหัวข้อเรื่องที่เลือกเรียน
    18. อธิบายคำสั่งเกี่ยวกับกิจกรรมต่าง ๆ
    19. มีส่วนร่วมในการสัมภาษณ์นักเขียนชั้นนำ  หรือสัมภาษณ์วิทยากรที่เชิญมา  ผู้ปกครองที่มา
          ร่วมกิจกรรมที่โรงเรียน
    20. จัดแสดงละครแบบกลอนสด  (แบบคิดขึ้นทันทีทันควัน)  โต้ตอบกันเป็นคู่  เป็นกลุ่ม
    21. การเสวนาของกลุ่มย่อย  ในหัวข้อเรื่องที่เรียน
    22. เชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญมาในห้องเรียน  และจัดการสัมภาษณ์  โดยขออาสาสมัครให้เด็ก
          เป็นผู้สัมภาษณ์  มีการเตรียมหัวข้อก่อน
จะเห็นได้ชัดว่าในการการเป็นผู้อ่านและผู้เขียน เด็ก ๆ ต้องพัฒนากระบวนการ ๓ ขั้นตอนเสมอ
 

การอ่าน      คือการจัดตั้งกลุ่มนักอ่านซึ่งจะสร้างความสมดุลต่อ     ประสบการณ์การอ่านในลักษณะต่างๆในห้องที่เรียน
ภาษาอย่างธรรมชาติ  ผลพลอยได้ที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ
                                                                      
ระดับของพัฒนาการอ่าน
          เด็กจะมีความก้าวหน้าผ่าน  3  ขั้นตอนในฐานะที่เป็นทั้งผู้อ่านและผู้เขียน   การปรากฏขั้นอย่างเป็นธรรมชาติของการเป็นนักอ่าน   การเริ่มต้นและอ่านอย่างคล่องแคล่ว   ห้องเรียนของท่านอาจประกอบด้วยนักอ่านระดับใดระดับหนึ่ง   ดังนี้
1.  นักอ่านรุ่นแรกเริ่ม
          เด็กเหล่านี้เพิ่งเริ่มตระหนักถึงพื้นฐานการอ่านและการเขียน   ครูควรสังเกตเห็นการเริ่มเป็นนักอ่านที่ปรากฏขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ   โดยปกตินักเรียนระดับเด็กเล็ก   อนุบาลและประถมถือว่าอยู่ในระดับนี้   นักอ่านเหล่านี้ต้องการหนังสือประเภทที่ให้คาดเดาล่วงหน้าได้ที่สามารถดึงความสนใจไว้ได้สูง  รวมทั้งธรรมชาติและภาษาที่เชื่อมโยงกับเนื้อเรื่องที่ฟังเข้าใจง่าย
2.  นักอ่านรุ่นเตาะแตะ
          คือการเริ่มต้นเป็นนักอ่านในระดับนี้เด็กจะเข้าใจพื้นฐานของทิศทางตัวหนังสือและพยายามเรียนรู้ให้เข้าใจด้วยกลวิธีที่หลากหลาย   เขาสามารถอ่านและเขียนเรื่องในรายละเอียดและซับซ้อนมากขึ้นได้พอสมควร
3.  นักอ่านรุ่นคล่องแคล่ว
          เด็กๆ  จะเป็นนักอ่านที่มีความมั่นใจในตนเอง   เขาสามารถที่จะใช้กลวิธีที่หลากหลายในการอ่านเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน   ครูสามารถคาดหวังจากเด็กตั้งแต่ระดับชั้นประถม  2  ขั้นไป   ที่จะมีความสามารถในระดับนี้ได้
การจัดประสบการณ์ที่หลากหลายในการอ่านให้เด็ก
          การยอมรับและเข้าใจถึงความต้องการของเด็กๆ  ว่ามีความสามารถในการอ่านเสียงชัด   จะช่วยครูในการวางแผนการสอนการอ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพ   ให้ใช้หนังสือเด็กที่มีคุณภาพ   เป็นจุดเน้นในการสอนร่วมกับการทำกิจกรรมที่เหมาะสมดังต่อไปนี้   สำหรับผู้อ่านทุกคน
การอ่านร่วมกัน
          การอ่านร่วมกันเกิดขึ้นได้ในรูปแบบการสอนที่เป็นทั้งกลุ่มเล็กและกลุ่มใหญ่   เด็กๆ  จะฟังครูที่เป็นตัวอย่างที่ดีอ่านวรรณกรรมที่มีคุณภาพ   เด็กเล็กๆ  สามารถร่วมอ่านไปพร้อมกับครู   ในช่วงของการอ่านตาม   จากการอ่านในแต่ละครั้ง   เด็กๆ  จะสามารถอ่านข้อความได้มากขึ้นและในที่สุด   เขาจะสามารถเลือกอ่านอย่างอิสระในส่วนที่เขาต้องการ   การอ่านหนังสือร่วมกันนี้ช่วยเด็กให้สนุกกับการอ่านหนังสือ   การอ่านในลักษณะนี้เป็นวิธีการที่จะให้เด็กที่มีอายุมากกว่าได้เรียนรู้วิธีการใหม่ๆ  จากผู้อื่น

ขั้นตอนในการอ่านหนังสือร่วมกัน
          1.  ครูคัดเลือกหนังสือเล่มใหญ่หรือนิยายเรื่องหนึ่งหรือบทเรียนหนึ่งที่เหมาะกับเด็ก
          2.  ครูแนะนำหนังสือพร้อมทั้งชี้ระบุซื่อเรื่อง   ผู้แต่งและผู้วาดภาพประกอบ   และให้เห็นความสำคัญของหนังสือ
          3.  ครูควรกระตุ้นให้เด็กคาดการ   เดาว่าอะไรจะเกิดขึ้นต่อไปในหนังสือ
          4.  ครูอ่านเสียงดัง   แสดงให้เห็นการจับหนังสือที่ถูกต้อง   การอ่านจากซ้ายไปขวา   การแสดงถึงความรู้สึกและความกระตือรือร้นในขั้นต้นควรชี้นิ่งตามคำที่อ่าน   และอ่านติดต่อกันในจังหวะเหมาะสม
          5.  เมื่ออ่านเสร็จ   ครูจะเป็นผู้นำการพูดคุยถึงหนังสือดังกล่าวและกระตุ้นให้เด็ก   แสดงความคิดความรู้สึกส่วนตัวต่อหนังสือนั้นๆ
          6.  การปิดสรุปประสบการณ์การอ่านโดยการจัดหากิจกรรมที่เชื่อมโยงกับสิ่งที่ได้อ่านให้ต่อเนื่องเพื่อให้เด็กนำเอาสิ่งที่ได้รับจากการอ่านไปใช้   เป็นต้นว่า   การดึงตัวละครจากในหนังสือมาเล่นบทบาทสมมติ   เป็นต้น

 การอ่านโดยการแนะนำของครู
          ในห้องเรียนที่ใช้ระบบการเรียนอย่างธรรมชาติ   การอ่านภายใต้คำแนะนำของครู   เปิดโอกาสให้ครูสอนกลวิธี   ซึ่งช่วยปรับปรุงการอ่านให้เกิดความเข้าใจและให้ทักษะที่จำเป็นในการเป็นผู้อ่านที่เชี่ยวชาญได้เป็นอย่างดี
          จุดประสงค์ของการอ่านนี้เหมือนกับคำสั่งในแบบฝึกทักษะการทำงานกลุ่มย่อยที่เราพบในห้องเรียนแบบเดิม   แต่วรรณกรรมจะเข้ามาแทนที่   หรือจะเข้ามาเสริมหนังสือตำราเหล่านี้   ทั้งนี้ความต่อเนื่องในการอ่านขึ้นอยู่กับการตอบสนองของนักเรียนต่อวรรณกรรมนั้นๆ  ด้วย
การแนะนำขั้นตอนการอ่านประมาณ  30  นาที
          1.  ครูอ่านออกเสียงเรื่อง   หรือวรรณกรรมที่ได้คัดเลือกแล้ว   เพื่อให้เด็กคุ้นเคยกับคำศัพท์และโครงเรื่องที่อ่าน
          2.  ตามด้วยการสนทนา   คิด   วิเคราะห์ให้เด็กโต้ตอบสั้นๆ  ครูฝึกตั้งคำถามเชิงวิเคราะห์และเชิงสร้างสรรค์
          3.  ครูเป็นผู้ตั้งจุดประสงค์ของการอ่านอิสระของเด็กรายคน
          4.  เด็กๆ  เลือกอ่านออกเสียงหรืออ่านในใจเงียบๆ  จากหนังสือเรื่องเดียวกันที่จัดทำสำเนาไว้หลายๆ  ชุด
          5.  นักเรียนอาสาอ่านออกเสียงย่อหน้าใดย่อหน้าหนึ่ง
          6.  ครูใช้การอ่านย่อหน้าเหล่านี้เพื่อมุ่งเน้นกลยุทธ์หรือทักษะในการอ่านที่ครูวางแผนไว้
          7.  นักเรียนทำกิจกรรมฝึกทักษะแบบอิสระ   ซึ่งเป็นโอกาสให้ครูประเมินความรู้ความสามารถของนักเรียนเป็นรายบุคคลได้

จุดประสงค์ของการอ่านจะเหมือนกับการให้คำสั่งใน
การฝึกทักษะการทำงานกลุ่มย่อยที่เราพบในห้องเรียน
แบบเดิมเป็นลักษณะใช้เสียงหรือแต่งวรรณกรรมที่มี
คุณภาพเข้ามาแทนที่หนังสือตำราเรียน
 



การประชุมสนทนาเกี่ยวกับหนังสือ
พูดคุยกับเด็กรายบุคคลหรือเป็นกลุ่มเล็กเกี่ยวกับหนังสือที่อ่าน   ในกรณีการประชุมกลุ่มเล็กเด็กทุกคนควรมีสำเนาหนังสือคนละเล่ม   เพื่อจะได้พลิกไปที่หน้าเดียวกันหรือเพื่ออ้างถึงคำบรรยายหรือคำศัพท์ความหมายต่างๆ  ได้ตรงกันครูต้องสำรวจความเข้าใจของเด็ก   ฟังสิ่งที่เด็กอ่านและใช้คำถามที่เกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ  ดังนี้
            เด็กสามารถลงชื่อเพื่อเข้าร่วมประชุมในลักษณะนี้ทุกๆ  2  สัปดาห์
            การประชุมรายบุคคลควรใช้เวลาไม่เกิน 10 15  นาทีและให้โอกาสเด็กได้พูดคุยกับครูถึงหนังสือที่ตนเลือก
            การประชุมรวมถึงการสนทนาโต้ตอบเกี่ยวกับหนังสือนี้เป็นความรู้สึกที่มีต่อหนังสือและในย่อหน้าที่อ่านออกเสียง เด็กๆ  ควรได้บันทึกชื่อหนังสือที่ตนอ่านในตารางบันทึกด้วยทุกครั้งที่อ่าน

การอ่านแบบปล่อยอิสระ
          ในการพัฒนาเด็กให้เป็นนักอ่านอิสระที่แท้จริงมีองค์ประกอบที่สำคัญ   คือ   เวลา   การเลือกหนังสือ   เอกสารและอุปกรณ์ต่างๆ  ให้เวลาเด็กมาก ๆ  ในการอ่านแบบปล่อยอิสระ   จัดหาหนังสือหลายประเภทที่เหมาะกับทุกระดับอายุ   เพื่อให้เด็กได้เลือกการอ่านแบบปล่อยอิสระไม่ใช่เพียงแค่ให้อ่านในใจยังมีกิจกรรมอื่นที่ส่งเสริมการอ่านอิสระ   ซึ่งรวมถึงการอ่านในระยะยาว   การอ่านให้ครูใหญ่   ผู้ปกครองและเพื่อนร่วมห้องฟัง   การอ่านลงเทปบันทึกเสียงและการค้นคว้าในห้องสมุด   นักเรียนสามารถตรวจสอบรายชื่อหนังสือที่ได้อ่านจากตารางบันทึกการอ่าน

การอ่านในใจที่ยั่งยืน
          การอ่านในใจเป็นกิจกรรมที่ทุกคนรวมทั้งครูต้องทำเป็นกิจวัตประจำวัน ( ทุกเช้าก่อนเริ่มกิจกรรม )   ครูและนักเรียนสามารถทำตามแนวทางดังต่อไปนี้
            เด็กนักเรียนแต่ละคนเลือกหนังสืออ่านของตนเอง ( ครูคัดเลือกหนังสือมีคุณค่าให้ก่อน )  
            เด็กสามารถนั่งที่โต๊ะหรือมุมสบายใด ๆ  ก็ได้   ติดกฎกติกาการอ่านไว้ที่ผนัง
            ร่วมกันอ่านกฎกติกา   ไม่ควรมีการขัดจังหวะในช่วงการอ่าน
            การกำหนดเวลาขึ้นอยู่กับข้อตกลงของกลุ่ม   ประมาณ  5 30  นาที   ขึ้นอยู่กับระดับอายุของเด็ก   เราควรค่อยๆ  ขยายเวลาเมื่อเด็กมีขีดความสารถในการอ่านมากขึ้น
            เมื่อสัญญาณหมดเวลาดังขึ้น   แสดงถึงยุติการอ่านด้วยการหากิจกรรมอื่นมาเปลี่ยนบรรยากาศอย่างนุ่มนวล   คั่นในช่วงเปลี่ยนกิจกรรม   เช่น   เคลื่อนไหว   การออกกำลังรับประทานของว่าง   หรือการฟังดนตรีเบาๆ

 ประเภทของเรื่องและวรรณกรรม

          สารคดี   นิยาย   ชีวประวัติ   อัตชีวประวัติ   กีฬา   บทกลอน   บทละคร   นิยายที่แต่งจากชีวิตจริงนิยายอิงประวัติศาสตร์   นิยายวิทยาศาสตร์   นิยายเพ้อฝัน   นิยายปรัมปรา   ตำนาน   นิทานชาวบ้าน   เทพนิยาย   นิทานเหลือเชื่อ   เรื่องสั้น   เรื่องลึกลับ
  
การจับคู่อ่าน  2  คน
          เพื่อให้เด็กมีโอกาสได้อ่านออกเสียง   ครูให้เด็กจับคู่   ผู้อ่านเป็นผู้เลือกหนังสือและเลือกมุมที่ตนเองต้องการ   ในห้องเรียน   การจับคู่ฝึกซ้อมอ่านนั้น   เราสามารถจับคู่เด็กที่มีความสามารถแตกต่างกันหรือให้เด็กคนหนึ่งอ่านหนังสือที่ท้าทายความสามารถในการอ่านให้เด็กอีกคนฟัง   เพื่อช่วยเสริมทางด้านคำศัพท์และทักษะการฟัง   และการอ่านที่ผู้อ่านมีความสามารถเท่าเทียมกันจะเป็นการช่วยเสริมสร้างความมั่นใจและความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง

การเห็นคุณค่าของหนังสือ   และวรรณกรรมประจำชาติ
          หนังสือที่ครูอ่านให้เด็กฟัง   ต้องเป็นหนังสือที่ท้าทายเด็กในระดับต่างๆ  ทั้งระดับการอ่านอิสระและภายใต้คำแนะนำของครู
          ครูควรเลือกหนังสือที่ใช้ภาษาเชิงพรรณนาโวหาร   การบรรยายที่สำคัญควรมีแนวคิดที่เหมาะสมกับบริบทของสังคมไทย   ตัวอย่างการกระทำที่ดีของลักษณะตัวละครในรายละเอียดการพัฒนาเค้าโครงเรื่องที่มีความซับซ้อน   การสนทนาโต้ตอบเกี่ยวกับหนังสือจะช่วยพัฒนาระดับการคิดของเด็กได้ดียิ่ง   ( เวลาพักหลังเที่ยงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการอ่านวรรณกรรมที่ดีร่วมกัน )

เราจำเป็นต้องมองภาพกิจวัตรประจำวัน
ทั้งวันในโรงเรียนเป็นองค์รวมและ
จัดโอกาสให้เด็กได้อ่านได้เขียนตลอดทั้งวัน
 





• การกำหนดเวลาขึ้นอยู่กับข้อตกลงของกลุ่มประมาณ ๕ ๓๐นาทีขึ้นอยู่กับระดับอายุของเด็กเราควรค่อยๆ ขยายเวลาเมื่อเด็กมีขีดความสามารถในการอ่านมากขึ้น
• เมื่อสัญญาณหมดเวลาดังขึ้น แสดงถึงยุติการอ่านด้วยการหากิจกรรมมาเปลี่ยนบรรยากาศอย่างนุ่มนวล คั่นในช่วงเวลาเปลี่ยนกิจกรรม เช่น เคลื่อนไหว การออกกำลัง รับประทานของว่างหรือการฟังดนตรีเบา ๆ

ประเภทของเรื่องและวรรณกรรม
         สารคดี นิยาย ชีวประวัติ อัตชีวประวัติ กีฬา บทกลอน บทละคร นิยายที่แตกต่างจากชีวิตจริง
นิยายอิงประวัติศาสตร์ นิยายวิทยาศาสตร์ นิยายเพ้อฝัน นิยายปรัมปรา ตำนาน นิทานชาวบ้าน เทพนิยาย นิทานเหลือเชื่อ เรื่องลึกลับ

การจับคู่อ่าน ๒ คน
          เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสได้อ่านออกเสียง ครูให้เด็กจับคุ่ ผู้อ่านเป็นผู้เลือกหนังสือและเลือกมุมที่ตนเองต้องการ ในห้องเรียน การจับคู่ฝึกซ้อมอ่านนั้น เราสามารถจับคู่เด็กที่มีความสามารถแตกต่างกัน หรือให้เด็กคนหนึ่งอ่านหนังสือที่ท้าทายความสามารถในการอ่านให้เด็กอีกคนฟัง เพื่อช่วยเสริมทางด้านคำศัพท์และทักษะการฟัง และการอ่านที่ผู้อ่านมีความสามารถเท่าเทียมกันจะเป็นการช่วยเสริมสร้างความมั่นใจและความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง

การเห็นคุณค่าของหนังสือ และวรรณกรรมประจำชาติ
          หนังสือที่ครูอ่านให้เด็กฟัง ต้องเป็นหนังสือที่ท้าทายเด็กในระดับต่าง ๆ ทั้งระดับการอ่านอิสระและภายใต้การแนะนำของครู
          ครูควรเลือกใช้หนังสือที่ที่ใช้ภาษาเชิงพรรณนาโวหาร การบรรยายที่สำคัญควรมีแนวคิดที่เหมาะสมกับบริบทของสังคมไทย ตัวอย่างการกระทำที่ดีของลักษณะตัวละครในรายละเอียดการพัฒนาเค้าโครงเรื่องที่มีความซับซ้อน การสนทนาโต้ตอบเกี่ยวกับหนังสือจะช่วยพัฒนาระดับการคิดของเด็กได้ดียิ่ง (เวลาพักเที่ยงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการอ่านวรรณกรรมที่ดีร่วมกัน)

เราจำเป็นต้องมองภาพกิจวัตรประจำวัน
ทั้งวันในโรงเรียนเป็นองค์รวมและ
จัดโอกาสให้เด็กได้อ่านได้เขียนตลอดทั้งวัน
 

        

                                             
กิจกรรมส่งเสริมด้านการอ่าน
             หลังจากการอ่านหนังสือที่ดี ๆ แล้วควรมีกิจกรรมต่อเนื่อง ซึ่งส่งเสริมการพัฒนาความสามารถในการอ่านและการเขียนให้ต่อเนื่องขึ้นไปอีก กิจกรรมส่งเสริมเหล่านี้รวมถึงการโยงใยเรื่อง Story mapping แผนภูมิการเปรียบเทียบบุคลิกภาพของตัวละคร การเปรียบเทียบผู้แต่ง การศึกษาประเภทของวรรณกรรม การลำดับเหตุการณ์รูปภาพเหล่านี้สามารถใช้ในมุมการเรียนรู้ของครูได้