วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ขยายความเรื่องภาษา

ครั้งที่4

                       เด็กเรียนการฟังและการพูด โดยไม่ต้องอาศัยการสอนอย่างเป็นทางการ การที่เด็ก ได้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางภาษา จะทำให้เด็กเข้าใจ และใช้ไวยากรณ์พื้นฐานของภาษาแม่ เมื่ออายุได้สี่หรือห้าปี
                  สิ่งที่ครูสอนเด็กปฐมวัยจะต้องตระหนัก และมีความรู้เพื่อนำไปใช้ในการช่วยพัฒนาการทางภาษาของเด็กก็คือ ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษาทั้งในด้านภาษาศาสตร์ ด้านการนำไปใช้ ตลอดจนแนวปฏิบัติในการจดประสบการณ์ทางภาษาให้แก่เด็ก
                     บลูม และลาเฮย์ ( 1983:……) ได้ให้ความหมายของภาษาไว้ 3 ประการ คือ
                    ภาษาเป็นสัญลักษณ์หรือรหัส (Code) ใช้แทนสัตว์ สิ่งของ สถานที่ กิริยาอาการ และเหตุการณ์ เช่น เด็ก กิน ขนม
                    ภาษาเป็นสัญลักษณ์ของมโนมติเกี่ยวกับโลกหรือประมวลประสบการณ์ เช่น บ้าน ประเทศ ความเศร้าโศก
                     ภาษาเป็นระบบ ภาษามีระบบกฎเกณฑ์ที่ค่อนข้างจะคงที่ เช่น มีคำที่เป็นประธาน กริยา กรรม
                    กำชัย  ทองหล่อ(ปี พ.ศ. : หน้าหนังสือ) ได้ให้คำนิยามไว้ว่า ภาษาแปลตามรูปศัพท์ ว่า คำพูด หรือถ้อยคำ แปลเอาความว่า เป็นเครื่องมือสื่อความหมาระหว่างมนุษย์ให้สามารถกำหนดรู้ความประสงค์ ของกันและกันได้ โดยมีระเบียบคำหรือจังหวะเสียงเป็นเครื่องกำหนด
                     วิจินตน์  ภาณุพงษ์ (ปี พ.ศ. : หน้าหนังสือ) ให้ความหมายของภาษาไว้ว่า คำว่าภาษา นักภาษาศาสตร์ หมายถึง เสียงที่มีระบบที่เราใช้ในการสื่อสารกัน ภาษาพูดหมายถึงเสียง ภาษาเขียนหมายถึงตัวอักษร ถ้าเราจะอธิบายลักษณะของภาษาให้สมบูรณ์ เราต้องศึกษาทั้งเสียง ระเบียบและความสัมพันธ์ระหว่างระเบียบสถานการณ์ที่เราใช้เสียงนั้น
                          จึงอาจสรุปได้ว่า ภาษา คือ สัญลักษณ์ที่มนุษย์ในสังคมหนึ่งๆ สร้างขึ้น เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารและทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน
                                                    องค์ประกอบของภาษา
                                                 (Language Component)                           
                   เสียง                                  ไวยากรณ์                               ความหมาย
            (pronunciation)                          (grammar)                              (meaning)
การอ่าน                  ระบบเสียง              คำ               ประโยค           คำศัพท์       ประโยค ข้อความ
(phonetics)              (phonology)    (morphology)          (syntax)      (vocabulary)     (discourse)
 สัญลักษณ์               ตัวอักษร
 การอ่าน
(graphetics)          (graphology)
                        เด็กๆ ใช้ภาษาเพื่อแสดงออกถึงความคิด ความรู้สึก ตลอดจนการทำความเข้าใจสิ่งแวดล้อมอย่างมีความหมาย การจัดการเรียนการสอนจึงควรสอดคล้องกับธรรมชาติของคนเรา ดังกล่าว ดังทัศนะของภาษารวมหรือการเรียนภาษาโดยธรรมชาติ (Whole Language) ซึ่งได้กล่าวถึงจุดมุ่งหมายการสอนภาษาไว้ดังนี้ (Goodman and Goodman. 1981)
                      1.จุดมุ่งหมายการใช้ภาษาเน้นที่การสื่อสารอย่างมีความหมาย
                       2.จุดมุ่งหมายการฟังและประสบการณ์การอ่านเน้นที่การเข้าใจความหมาย
                      3.จุดมุ่งหมายการพูดและประสบการณ์การเขียน เน้นการสร้างหรือแสดงออกถึงความหมาย
ลักษณะของภาษา
                 เนื้อหาของภาษา (Language Content) ได้แก่ หัวข้อเนื้อเรื่อง หรือความหมาย ของสารที่จะใช้สื่อกับผู้อื่น ประกอบด้วย ชื่อของคน สัตว์ สิ่งของ เหตุการณ์ ความสัมพันธ์ ดังนี้

                                                        เนื้อหาของภาษา
                                     (Language Content or Semantics)
                     ชื่อ                                 ความสัมพันธ์                                 เหตุการณ์
        (Object Knowledge)                      (Object Relations)                       (Event Relations)

ชื่อเฉพาะ        ชื่อทั่วไป       บอก              บอก           บอก          เวลา                   ความรู้
                                ความเป็นอยู่       ลักษณะ       การกระทำ     และ                 ความรู้สึก
                                                                                   เหตุผล                   เวลา

อาคาร          สุนัข                            ขนมชิ้นนี้         กินขนม     หิวจึงกิน               เมื่อวานนี้
                                                  บอกลูกใหญ่    
                          รูปแบบของภาษา (The Form of Language) เสียงสระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ คำที่มีความหมาย และ ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วน คือ เสียงที่เปล่งออกมาเป็นหน่วย ลำดับคำหรือประโยค
                         การใช้ภาษา (The Use of Language) การใช้ภาษา ประตู ถ้าพูดกับเด็กรับใช้ อาจจะพูดใช้ ปิดประตูด้วย มี 2 ลักษณะคือ จุดมุ่งหมายของการใช้ภาษา หรือเหตุผล แต่ถ้าพูดกับเพื่อนหรือผู้อื่นในสำนักงานอาจจะพูดว่าที่ใช้ภาษา (Goals or Functions of Language) และสถานการณ์ ช่วยปิดประตูด้วยค่ะ หรือบริบท (Context) ในการใช้ภาษา เช่น การพูดให้ปิด
                                                    การใช้ภาษา
                                                (Language Use)

                  จุดมุ่งหมาย                                               บริบท, สถานการณ์
                    (Function)                                                   ( Context)
                                                                (การปรับภาษาให้สัมพันธ์กับผู้ฟังสถานการณ์)

      กับตนเอง                             กับผู้อื่น
   (Intrapersonal)                       (Interpersonal)
การพูดให้ความเห็น                          ขอร้อง
     การร้องเพลง                            ซักถาม
       แก้ปัญหา                              อธิบาย
 มิติของภาษา (Dimensions of Language)
                ลินด์ฟอร์ส (Lindfors. 1980) ได้รวบรวมลักษณะของภาษาในแง่มุมต่างๆ ดังต่อไปนี้
                ภาษาเป็นระบบความสัมพันธ์ระหว่างเสียงกับความหมาย ภาษาประกอบด้วยเสียงคำ ประโยค ถ้าเรารู้ภาษาหมายความว่า เรารู้เสียง คำ และกฎของการประกอบสิ่งเหล่านี้      เข้าด้วยกัน
               เด็กปกติทุกคนทั่วทุกแห่งจะสามารถเรียนภาษาในสังคมของตัวเองเด็กเล็กจะมีความจำกัดของความสามารถทางสมอง แต่ถึงอย่างไรก็ตาม เด็กอายุสามถึงสี่ปีสามารถเรียน  ความซับซ้อนของประโยคในภาษาของตนได้แล้ว ดูเหมือนว่าเด็กจะเรียนรู้กฎของภาษาจากภาษาพูดที่ตนได้ยิน และประโยคที่เด็กพูดจะเป็นประโยคที่เด็กสร้างขึ้นมาใหม่มากกว่า การเลียนแบบ การเรียนรู้ภาษาของเด็กนั้น เด็กจะต้องเรียนรู้โดยการฟังคนพูดและการอยู่ในสถานการณ์นั้นๆ ด้วย เด็กจะพยายามเข้าใจในสิ่งที่ตนได้ยินและพยายามแสดงออกถึงความตั้งใจในสิ่งที่เขาสามารถทำได้          
  ภาษามีอิทธิพลต่อการรับรู้และการคิดของคนเรา
                 ความคิดจะต้องใช้ภาษา  เราต้องการรู้ถึงขอบเขตของภาษาในการกำหนดความคิดและการกระทำของคน ภาษามีบทบาท      อันสำคัญในกระบวนการพัฒนาการทางสติปัญญา ภาษาเป็นเครื่องมืออันสำคัญของความคิด  สิ่งจำเป็นพื้นฐานของการเรียนภาษา คือ การสร้างมโนทัศน์
                 ภาษาจะต้องมีการแสดงออกทางด้านสื่อสาร เช่น การย้ำ ปฏิเสธ ร้องขอ สั่ง ฯลฯ     ภาษามีจุดประสงค์ที่ซับซ้อน การใช้ภาษาในลักษณะต่างกันแสดงถึงความตั้งใจที่ต่างกัน
                  ภาษาจะมีความแตกต่างกันในหลายๆ ลักษณะ ไม่มีคนสองคนที่จะพูดเหมือนกันทุกอย่าง แต่ละคนจะมีภาษาพูดของตนเอง ซึ่งเรียกว่า ภาษาถิ่น (Dialect)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น