วันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

รักแม่แสดงออกได้หลากหลายวิธี

        ครั้งที่ 7 
การเขียน

  

             ในฐานะที่เป็นครูหนึ่งในเป้าหมายหลัก  คือการสร้างความรู้สึกและบรรยากาศของความเป็นนักเรียนในห้องเรียน เด็กควรเห็นว่าเขาห้อมล้อมไปด้วยเพื่อนนักเขียนในชั้นซึ่งกำลังใช้ความคิดความพยายามและในขณะเดียวกันก็พร้อมที่จะช่วยเหลือเมื่อต้องการ เด็กจำเป็นต้องมีความรู้สึกอุ่นใจว่าได้รับการสนับสนุนจากครูและเพื่อนร่วมชั้น การสร้างบรรยากาศในห้องเรียนซึ่งจะช่วยพัฒนาความสามารถในการเขียนและสนับสนุนให้เด็กกล้าแสดงออก มีข้อเสนอแนะดังนี้
๑.      เปิดโอกาสให้เด็กได้เลือกหัวข้อที่จะเขียนเองแทนที่ครูจะเป็นผู้กำหนด (ครูนำเสนอหัวข้อให้เด็ก
เลือก )
๒.     ให้เด็กมีเวลาในการเขียนอย่างเพียงพอ พิจารณาเวลาเรียนโดยรวมและให้เด็กได้มีโอกาสเขียน
ตลอดทั้งวัน
๓.     ปล่อยให้เด็กเป็นผู้ตัดสินใจ ให้อิสระกับเด็กในการที่จะเขียนเรื่องใหม่ ๆ ในแต่ละวัน หรือเขียน
เรื่องต่อจากเมื่อวานที่เริ่มต้นไว้แล้ว
๔.     เปิดโอกาสให้เด็กใช้ความคิดในการนำเสนอการเขียนที่หลากหลายรูปแบบในขณะที่หัวข้อหรือ
ประเด็นเดียวกัน

กระบวนการเขียน
               ๕ ขั้นตอนในกระบวนการเขียนปรากฏในหน้าที่ ๑๘ ไม่จำเป็นที่งานทุกชิ้นจะต้องผ่าน ๕ ขั้นตอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับการของเด็ก และยังขึ้นอยู่กับเป้าหมายของหลักสูตรและจุดประสงค์ของการเขียนที่จะบอกได้ว่าเด็กคนนั้นผ่านกี่ขั้นตอน

                          การคิดสะกดคำขึ้นมาเองเกี่ยวข้องอย่างไรกับกระบวนการเขียน
               การเขียนการบรรยายอย่างเป็นธรรมชาตินั้นคือการยอมรับการสะกดคำที่เด็กคิดขึ้นเองว่าเป็นเรื่องธรรมชาติของเด็ก ซึ่งเริ่มต้นที่จะเขียน แต่ยังไม่รู้วิธีการสะกดคำที่ถูกต้อง เด็กควรได้รับการสนับสนุนให้คิดตัวสะกด หรืพยายามเข้าใจระบบการรวมตัวของอักษร ในขณะที่เขากำลังถ่ายทอดความคิดลงบนกระดาษ เขาเขียนคำตรงไปตรงมาตามที่เขาได้ยิน หรือจากที่เห็นในความคิดจินตนาการเองการสร้างคำมักจะเริ่มต้นจากการเขียนพยัญชนะต่อ ๆ กัน จนเมื่อเด็กมีความเข้าใจในเรื่องความสัมพันธ์ระกว่างพยัญชนะและเสียง เด็กจึงระเริ่มเชื่อมสาระกับตัวพยัญชนะเข้าด้วยกันเป็นลำดับต่อมาจึงเรียกว่าสะกดตัวหนังสือ
            


  เราไม่ได้ละทิ้งความสำคัญของการสะกดที่ถูกต้อง                             ขั้นตอนในการเขียน
ตามหลัดไวยากรณ์ ตรงกันข้าม เด็กจะต้องเขียนให้ถูกต้อง                           ๑. ก่อนเขียน
ในที่สุด หลังจากที่ผิดมาแล้วครั้งเดียว หรือนับครั้งไม่ถ้วนก็ตาม                      ๒. ร่างแรก
แต่สิ่งที่สำคัญกว่านั้นคือการสื่อความหมาย การสะกดคำเป็น                          ๓. ทบทวน
เพียงกลไกตัวหนึ่งในการเขียนที่เด็กจะต้องเรียนรู้                                    ๔.ตรวจทาน
                                                                                            ๕.พิมพ์

• การเขียนบทเรียนสั้น ๆ เป็นโอกาสที่แท้จริงที่เด็กจะเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องการออกเสียง (Phoenics)
• ธนาคารศัพท์ พจนานุกรมส่วนตัวละเพื่อนที่ช่วยสะกดคำจะเป็นตัวสนับสนุนนักเขียนรุ่นเยาว์ในการที่เขาจะพัฒนาการเขียนคำอย่างถูกต้อง ด้วยการค้นพบคำที่ถูกต้องเอง และแก้ไขตัวเองให้เขียนได้ถูกต้องในที่สุด โดยครูไม่สร้างทัศนคติเชิงลบให้ แต่เป็นผู้ชี้นำให้ค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลที่ถูกต้องได้

กระบวนการเขียนอย่างเป็นขั้นตอน
๑.      ขั้นตอนก่อนการเขียน จุดเริ่มต้น
• ให้เวลาคิดและคุยเกี่ยวกับความคิดต่าง ๆ ที่เป็นประสบการณ์เดิม
• ระดมความคิดทั้งชั้นหรือกับเพื่อนคู่หูในเรื่องที่จะเขียน
• ฟังและอ่านวรรณกรรมที่มีคุณภาพอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
• สร้างบรรยากาศสภาพแวดล้อมในห้องเรียนที่เอื้อต่อการเขียน
• เข้าห้องสมุด นำเหตุการณ์ในห้องเรียนมาสร้างสรรค์เป็นงานเขียนนิตยสาร
• ออกนอกห้องเรียน เพื่อฝึกการสังเกตสิ่งแวดล้อม และบันทึกอย่างเป็นระบบ
• ใช้ประสบการณ์ด้านศิลปะเป็นแรงบันดาลใจเพื่องานสร้างสรรค์ที่ตนเองสนใจ
๒.        ร่างแรก การถ่ายทอดความคิดลงบนกระดาษ
• เลือกจุดประสงค์ในการเขียน : บอกเล่า ชักชวน สร้างบรรยากาศที่ชวนสนุก
การอธิบาย (หรือบรรยาย)
• รู้ว่าใครคือผู้อ่านงานของเรา
• ถ่ายทอดความคิดลงบนกระดาษอย่างรวดเร็ว (ตามธรรมชาติ)   
• กำหนดทิศทางและไม่หลุดประเด็นหัวข้อ (ครูช่วยบ้างในระยะแรก)
นำเสนอ รูปแบบ วิถีการเรียนรู้ต่าง ๆ ผ่านวรรณกรรม 
3.ทบทวน-ทำให้ถูกต้อง
·       ให้เพื่ออ่านเรื่องที่เขียน เพื่อฟังความคิดเห็น
·       สนใจฟังว่ามีจุดไหนที่ควรได้รับการแก้ไข ( การอ่านซ้ำ ดูลายละเอียด การอธิบายให้เกิดความชัดเจนยิ่งขึ้น ) และมาทบทวนงานอีกครั้ง
·       อ่านเรื่องที่เขียนให้เพื่อนในกลุ่มฟังและขอข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ในการปรับปรุงอีกครั้ง
·       เพิ่มเติม ตัดต่อและเปลี่ยนแปลงส่วนที่จำเป็น เพื่อความถูกต้อง
4.ตรวจแก้-สำรวจ ความถูกต้องตลอดเรื่อง
·       ตรวจทานการเว้นวรรคตอนและการจัดประโยค คำศัพท์
·       ตรวจทานไวยกรณ์
·       ใช้พจนานุกรมหรือให้เพื่อนช่วยแก้ไขตัวสะกด
·       ใช้ตารางการตรวจสอบของนักเรียน
5.การตีพิมพ์-การแสดงความยินดีต่อผลงานเขียน (ในระดับอนุบาลให้ทำไปตามขั้นตอนนี้)
·       ให้เล่าเรื่องด้วยปากเปล่าให้ทั้งชั้นฟัง
·       ทำหนังสือและออกแบบหน้าปก
·       นำผลงานติดแสดงในโรงเรียนหรือในห้องสมุด
·       อ่านเรื่องใส่เครื่องบันทึกเสียง (หรือบันทึกเสียงเรื่องที่เขียนขึ้นมา)
·       รวบรวมเรื่องทั้งหมดเป็นหนังสือสำหรับใช้ในห้องเรียน
·       ติดเรื่องต่างๆบนผนังแสดงผลงาน
·       อ่านเรื่องที่เขียนให้ครูใหญ่ฟัง (เชิญมาที่ห้องเพื่อบรรยากาศที่ตื่นเต้นเร้าใจ)



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น