เครื่องมือและวิธีการวัดและประเมินพัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัย
เครื่องมือและวิธีการวัดและประเมินพัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัย ได้แก่ การสังเกต สนทนา ผลงาน สัมภาษณ์ และแบบทดสอบ
1. การสังเกต
เมื่อขึ้นชั้นประถมศึกษา เด็กจะมีกระบวนการทางภาษาที่แน่ชัดและมีทักษะ เพียงพอที่จะเรียนในชั้นประถมศึกษาหรือไม่ พฤติกรรมใดแสดงว่าเด็กมีพัฒนาการทางภาษา และความก้าวหน้าทางภาษานี้สามารถที่จะรวบรวมเป็นหลักฐานที่แสดงถึงพัฒนาการทางภาษาของเด็กได้อย่างไร คำตอบคือต้องอาศัยหลักการสังเกตและการประเมินพัฒนาการทางภาษา โดยการจัดทำอัลบั้มภาษา
อัลบั้มภาษา : การบันทึกการเรียนรู้ภาษาด้านต่างๆ
ฉันทนา ภาคบงกช (2538 : 5-11) ได้อธิบายรายละเอียดในการจัดทำอัลบั้มภาษาว่า เป็นวิธีการที่สร้างสรรค์ในการรวบรวมการแสดงออก ประสบการณ์ พัฒนาการ การประเมินตนเอง
ด้านภาษาและการกระทำที่เหมาะสมกับวัยของเด็ก นับว่าเป็นการประเมินพัฒนาการทางภาษาอย่างสมเหตุสมผลสำหรับเด็กในวัยนี้
ครูปฐมวัยมีส่วนร่วมในการทำอัลบั้มแสดงพัฒนาการทางภาษาของเด็ก อย่างง่ายๆ โดยการนำผลงานต่างๆ ที่เด็กทำกิจกรรมทางภาษาที่เป็นประสบการณ์ในชีวิตจริง เช่น การอ่านนิทานให้เด็กฟังขณะเล่น การทำเป็นอ่านเขียน หัดเขียนชื่อ สถานการณ์เหล่านี้ เกิดขึ้นเสมอในห้องเรียน ช่วยให้สามารถสังเกตปฏิสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับภาษา เด็กสร้างสรรค์ความหมายอย่างไร และเด็กทำตามที่มุ่งหวังได้อย่างไร สิ่งที่ปรากฏทำให้เกิดความเข้าใจ ที่แน่ชัดเกี่ยวกับสภาวะของพัฒนาการทางภาษาของเด็ก อัลบั้มภาษาเป็นวิธีการสะสมผลงานที่เด็กแสดงออกทางภาษาระยะแรกเริ่มที่ดีมาก นอกจากจะบันทึกการสังเกตเด็กการอ่าน และการเขียนของเด็กโดยตรง แล้วยังเป็นการสะสมตัวอย่างการเขียนอย่างขีดเขี่ย ระเบียนสะสมของผู้ปกครอง เทปบันทึกการอ่านหนังสือของเด็ก ภาพถ่ายขณะเด็กทำกิจกรรมทางภาษา เป็นต้น
อัลบั้มช่วยกระตุ้นความร่วมมือระหว่างเด็กๆ ครูและผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องภายในศูนย์กิจกรรมที่นำมาจัดให้แก่เด็ก ล้วนทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์ทางวาจา และมีโอกาสเลือกทำกิจกรรม ทำให้
เข้าใจเกี่ยวกับความคิดรวบยอดของเด็ก การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่เกิดขึ้นนี้มีประโยชน์ 3 ประการ ได้แก่
· ทำให้ครูทำประสบการณ์ทางภาษาร่วมกับเด็ก และรู้กระบวนการและทักษะที่สำคัญ
· ชวนเด็กเลือกทำกิจกรรมและให้รับผิดชอบในสิ่งที่เด็กเลือก
· เปิดโอกาสให้เด็กสร้างสรรค์ตามความสนใจของเด็กแต่ละคน ซึ่งนับว่าเป็นหลักของการเรียนรู้ทางภาษา
อัลบั้มภาษาเป็นการส่งเสริมให้มีการเคลื่อนไหวโดยไม่หยุดนิ่ง ได้ใช้ส่วนต่างๆ ของร่างกายในการเรียนรู้ทางภาษา เพราะการเรียนภาษามีหลายมิติที่เปิดกว้าง จึงสะท้อนให้เห็นความสามารถในการอ่านและเขียนอย่างคร่าวๆ ของเด็กได้ ซึ่งสะท้อนกระบวนการด้านการรู้คิดและจิตใจที่ยังไม่อาจคลี่คลายให้ปรากฏชัดได้นัก กิจกรรมอัลบั้มภาษาจึงเป็นการจัดประสบการณ์แบบเด็กเป็นศูนย์กลางที่เป็นหนทางนำไปสู่การประเมินพฤติกรรมทางภาษาของเด็ก
การมีส่วนร่วมระหว่างครู เด็ก และผู้ปกครองในกิจกรรมอัลบั้มภาษา
ผู้ปกครองบางคนเคยสะสมภาพและเหตุการณ์น่าประทับใจของลูกตั้งแต่แรกเกิด ไว้ในสมุดบันทึกประจำตัวลูก การเคลื่อนไหวครั้งแรก การพูดคำรพ ของเล่นที่โปรดปรานอัลบั้มภาษาก็มีความสำคัญและเป็นสมบัติล้ำค่าของเด็กเช่นเดียวกัน เป็นประวัติการเรียนรู้ภาษาของเด็กแต่ละคน ซึ่งอาจจัดไว้ในสมุด หรือเริ่มต้นด้วยการจัดใส่แฟ้ม แต่จะต่างจากการสะสมภาพ ลงในสมุดและแฟ้ม ซึ่งมักทำโดยผู้ใหญ แต่อัลบั้มภาษาเป็นสำรวจของเด็กโดยอาศัยครู หรือผู้ปกครองช่วยกันเลือกว่างานชิ้นใดแสดงถึงความก้าวหน้าทางการอ่านและเขียน
การทำอัลบั้มภาษาประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้
· ให้เด็กคัดเลือกผลงานที่ดีเป็นระยะๆ เพื่อจัดเก็บสะสม
· ครูควรแนบบันทึกเหตุผลของเด็กที่เลือก รวมทั้งข้อคิดของเพื่อนหรือผู้ปกครองไว้ด้วย
· ครูควรทบทวนสาระในอัลบั้มกับเด็กเป็นประจำ (หากเด็กจำนวนมากอาจชวนทุกคนเปิดอัลบั้มดูและสนทนาให้กำลังใจแก่เด็กอย่างมีเหตุผล)
จากกระบวนการของการคัดเลือก สนทนาและให้ข้อคิด ทำให้ครูวัดความก้าวหน้าทางภาษาได้อย่างมีระบบระเบียบ และช่วยให้เด็กแต่ละคนพัฒนาด้านภาษาไปตามขั้นตอนของตนด้วยกิจกรรมที่เล่นอย่างอิสระในยามว่าง
ครูสามารถเริ่มต้นกิจกรรมทางภาษาดังนี้
1. สร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของ อัลบั้มภาษาเป็นการรวบรวมงานที่เป็นประสบการณ์แรกเริ่มของการเป็นผู้อ่านและผู้เขียน เป็นแหล่งรวมความสำเร็จทางภาษาเพื่อให้บรรลุผลควรสนทนาเกี่ยวกับความมุ่งหมายของการทำอัลบั้มภาษา ควรสนับสนุนให้ผู้ปกครองเห็นความสำคัญและให้คุณค่ากับอัลบั้มภาษาเช่นเดียวกับสิ่งมีค่าของลูก
2. เสนอแนะรายการที่ควรสะสม เพื่อให้การรวบรวมสิ่งต่างๆ มีความครอบคลุม ควรจัดทำรายการแจกเด็กและผู้ปกครอง ดังแสดงไว้ในภาพที่ 10.1
- ชื่อที่เด็กพยายามเขียนในระยะแรก
- เทปบันทึกการอ่านหนังสือนิทาน
- ภาพถ่ายการทำกิจกรรมสร้างสรรค์พร้อมทั้งข้อคิดของเด็ก
- การวาดภาพประกอบการเขียนตามคำบอกของเด็ก
- ตารางการเชิญผู้ปกครองมาอ่านนิทานให้เด็กฟัง
- รายชื่อหนังสือที่เด็กชอบพร้อมชื่อผู้เขียน หรือคำ
- การเขียนข้อความในโอกาสต่างๆ เช่น บัตรเชิญ จดหมาย รายการสิ่งของ
- รายงานจากผู้ปกครองเกี่ยวกับกิจกรรมทางภาษาที่บ้านและนิทานที่ชอบ
- รายงานการสังเกตของครู
- ภาพถ่ายเกี่ยวกับกิจกรรมการอ่านและเขียน
- รายการสิ่งที่โปรดปราน : นิทานที่ชอบเรื่องแรกและผู้เขียน คำที่เขียนได้
ในระยะแรกๆ ลายเซ็นระยะแรกๆ
|
ภาพที่ 10.1 รายการสิ่งของในอัลบั้มภาษา
ที่มา (ฉันทนา ภาคบงกช. 2538 : 5-11)
จากผลงานของเด็ก รายงานจากการสังเกตของผู้ปกครองและครู รายการกิจกรรมต่างๆ ที่ครอบคลุมจะช่วยให้เห็นความก้าวหน้าทางภาษาได้ชัดเจน
3. อัลบั้มส่วนตัว
ควรมีลายเซ็นของเจ้าของอัลบั้มที่หน้าปก ควรชวนเด็กออกแบบหน้าปก ด้วยตนเอง หรืออาจชวนผู้ปกครองมาที่ห้องและเชิญชวนช่วยกันตกแต่งหน้าปก โดยใช้สื่อที่ครูจัดเตรียมไว้ให้ เช่น สี กรรไกร กาว กระดาษสี ฯลฯ พร้อมกันนั้นควรอธิบายถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมกับเด็ก และความรู้สึกของความเป็นเจ้าของอัลบั้มของเด็ก
4. การพัฒนากระบวนการคัดเลือกและทบทวน
การจัดอัลบั้มต้องไม่ใส่ตัวอย่างกิจกรรมที่มากมาย แต่ต้องจัดหาเวลาว่าง ในช่วงการเล่นตามมุม เพื่อชวนกันคัดเลือกเป็นกลุ่มย่อยเป็นประจำทุกสัปดาห์ ถามเด็กว่าทำไมจึงชอบงานนี้และครูบันทึกไว้ให้ครูควรสรุปบันทึกรายเดือน ดังแสดงไว้ในภาพที่ 10.2
สรุปรายงานความก้าวหน้าทางภาษา
ชื่อเด็ก…………………………………………………อายุ…………….วันที่……………………..
| |
ความสามารถทางภาษา
|
เสมอ/บางครั้ง/นานๆ ครั้ง
|
1. หยิบจับสิ่งต่างๆ มาเขียน
|
………………………….
|
2. บันทึกความคิดโดย
วาดภาพแทนการเขียน
วาดภาพประกอบการเขียนแบบขีดเขี่ย
เขียนแบบขีดเขี่ย
เขียนโดยมีตัวหนังสือปะปนอยู่บ้าง
เขียนด้วยการคิดค้นของตนเอง
เขียนได้เหมือนภาษาที่ใช้กัน
|
………………………….
………………………….
………………………….
………………………….
………………………….
………………………….
………………………….
|
3. เขียน/จดจำชื่อของคนได้
|
………………………….
|
4. ตระหนักในความคงที่ของการเขียน
|
………………………….
|
5. ตระหนักในภาษาที่คุ้นเคยรอบตัว
|
………………………….
|
6. รู้ความหมายของคำจากการเชื่อมโยง
|
………………………….
|
7. “อ่าน” หนังสือนิทานจากภาพ
|
………………………….
|
8. ใช้ภาพและข้อความในการอ่านหนังสือ
|
………………………….
|
ภาพที่ 10.2 สรุปรายงานความก้าวหน้าทางภาษา
ที่มา (ฉันทนา ภาคบงกช. 2538 : 5-11)
สรุปรายงานความก้าวหน้าทางภาษา
ชื่อเด็ก…………………………………………………อายุ…………….วันที่……………………..
| |
ความสามารถทางภาษา
|
เสมอ/บางครั้ง/นานๆ ครั้ง
|
9. บอกสิ่งที่ชอบในหนังสือนิทาน
|
………………………….
|
10.จำรายละเอียดจากหนังสือนิทานที่คุ้นเคย
|
………………………….
|
11.ตระหนักในลำดับเหตุการณ์ในนิทาน
|
………………………….
|
12.ถือหนังสืออย่างถูกต้อง
|
………………………….
|
ภาพที่ 10.2 สรุปรายงานความก้าวหน้าทางภาษา (ต่อ)
ที่มา (ฉันทนา ภาคบงกช. 2538 : 5-11)
ตัวอย่างจากอัลบั้มภาษา
ภาพการเล่นที่ฉันชอบ
|
จากผู้ปกครอง
โปรดใส่เครื่องหมาย ü เฉพาะวันที่ท่านทำกิจกรรมอ่านหนังสือ
ชื่อ…………………………………………….วัน……/………./……..
| |
ถ้าใช่โปรดเขียน ü
จ อ พ พฤ ศ ส อา
| ||
1. ท่านอ่านนิทานให้ลูกฟัง
|
………………………….
| |
2. ท่านโอบลูกขณะที่ท่านอ่านหนังสือ
|
………………………….
| |
3. ท่านสนทนากับลูกก่อนอ่าน ขณะที่อ่านและหลังการอ่าน
|
………………………….
| |
4. ท่านสนทนาเชื่อมโยงนิทานกับชีวิตจริง
|
………………………….
| |
5. ท่านอ่านหนังสือยามว่าง
|
………………………….
| |
6. เด็กทำกิจกรรมเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
|
………………………….
| |
7. ท่านเคยชี้ชวนลูกดูสัญลักษณ์ คำ หรือ ตัวอักษร ที่บ้าน/นอกบ้าน
|
………………………….
| |
8. เด็กอ่านหนังสือเองตามลำพัง
|
………………………….
| |
9. ท่านชวนลูกดูโทรทัศน์และสนทนาเกี่ยวกับรายการที่ดู
|
………………………….
| |
10.ท่านเคยอธิบายคำหรือประสบการณ์ ที่เด็กไม่คุ้นเคย
|
………………………….
| |
รายการ
|
จากผู้ปกครอง
แนวทางสังเกตเด็กระหว่างอ่านหนังสือนิทาน
ชื่อ……………………………………อายุ…….ปี …..../……….253….
นิทานเรื่อง………………………………………………………………
| |
โปรดเขียน P ข้อละ 1 แห่ง
| ||
1. ถือหนังสือ
| ||
ก. ถูกต้อง (ไม่กลับด้าน)
| ||
ข. ไม่ถูกต้อง (ถือกลับด้าน เอาด้านบนลงข้างล่าง)
| ||
2. เปิดหนังสือ
| ||
ก. ถูกต้อง (จากหน้าไปหลัง จากซ้ายไปขวา)
| ||
ข. ไม่ถูก (จากหลังไปหน้า เปิดทีละหลายแผ่นหรือเปิดข้าม)
| ||
3. อ่านหนังสือโดย
| ||
ก. สนใจแต่ละภาพ เอ่ยถึงแต่ละสิ่ง ยังไม่เป็นเรื่องราว
| ||
ข. สนใจภาพต่างๆ และแต่งเรื่องจากภาพที่เห็น
| ||
ค. สนใจภาพและเล่าเป็นเรื่องต่อเนื่อง
| ||
ง. สนใจภาพและเขียนเรื่อง/เล่าคล้ายอ่านนิทาน
| ||
จ. สนใจอ่านตัวหนังสือโดยอ่านบางคำได้ นอกจากนั้นอ่านเองผิดๆ ถูกๆ
| ||
ฉ. สนใจอ่านตัวหนังสือ จำคำในหนังสือได้เป็นส่วนมาก
| ||
ช. สนใจตัวหนังสือและอ่านได้คล่อง
|
ในการวัดและประเมินพัฒนาการทางภาษา โดยใช้หลักการของลักษณะภาษา แคสเดน (Cazden. 1971 อ้างอิงจาก สุโขทัยธรรมาธิราช. 2535 : 195-197) ได้ยกตัวอย่างการสังเกตและทดสอบดังนี้
1. การออกเสียง ครูสังเกตการออกเสียงของเด็กในสถานการณ์ต่างๆ ว่าสามารถ ออกเสียงได้ชัดเจนเพียงไร และเสียงใดที่เด็กยังออกเสียงไม่ถูกต้อง เช่น คว เป็น ฟ
2. คำหรือคำศัพท์ การวัดและประเมินคำศัพท์จะมี 2 ลักษณะ คือ คำศัพท์ที่รู้ และเข้าใจโดยการให้เด็กชี้ภาพจากคำถามของครูได้ เช่น ให้ดูภาพ ม้า และแพะ แล้วถามเด็กว่ารูปไหนเป็นรูปแพะ
ลักษณะการรู้คำศัพท์อีกลักษณะหนึ่ง คือ สามารถแสดงออกและใช้คำศัพท์ได้ เช่น ครูให้ดูภาพแล้วถามว่านี้เป็นรูปภาพอะไรหรือในระดับที่สูงขึ้นครูอาจจะถามให้เด็กอธิบายความหมายของคำศัพท์ เช่น บุรุษไปรษณีย์คือใคร
3. ประโยคหรือไวยากรณ์ หรือการลำดับคำ การวัดและประเมินความสามารถ ในการรู้และเข้าใจประโยค จะทดสอบทั้งสองลักษณะ คือ ลักษณะเข้าใจ เช่น ให้เด็กดูภาพสองภาพ แล้วอธิบายประกอบภาพว่า ภาพนี้แมวอยู่หลังเก้าอี้ อีกภาพหนึ่งแมวอยู่ใต้เก้าอี้ให้เด็กชี้ภาพที่แมวอยู่หลังเก้าอี้
ส่วนการวัดและประเมินลักษณะแสดงออก เช่น ครูชูภาพหนึ่งแล้วพูดว่า เด็กกำลังนอนหลับ แล้วชูอีกภาพแล้วพูดว่าเด็กกำลังเล่นอยู่แล้วชูภาพทีละภาพให้เด็กพูดว่าเด็กในภาพกำลังทำอะไร
ในระดับที่สูงขึ้น เด็กจะสามารถเล่าเรื่องเหตุการณ์และระบุเวลาได้ เช่น“ถ้าตื่นนอนแล้วจะออกไปเล่น” หรือครูเล่าเรื่องสั้นๆ แล้วให้เด็กเล่าเรื่องย้อนกลับ สังเกตว่า เด็กจำเรื่องได้เพียงไร ข้ามประโยคหรือเรื่องและคำใดเพิ่มความหรือคำใด
การวัดความสามารถในการเข้าใจภาษาในด้านการรับรู้ ครูก็จะพูดประโยคต่างๆ แล้วให้เด็กปฏิบัติ เช่น
- แม่ดุเขา……..
- น้องจะต้องอาบน้ำ……
- ฉันจะต้องเอาร่มมาโรงเรียนวันนี้…..
5. ความสามารถในการใช้ภาษาในการสื่อสารในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในสถานการณ์ชีวิตจริง (Reality) และสถานการณ์คิดฝัน (Fantasy) ความสามารถในด้านนี้จะสังเกตได้จากการใช้ภาษาในสถานการณ์ในชีวิตจริง เช่น
- การถาม
- การขอร้อง
- การสั่ง
- การเล่าเรื่อง การบอก
ส่วนการใช้ภาษาในการสื่อสารในสถานการณ์คิดฝันนั้นจะสังเกตได้จาก การเล่นบทบาทสมมุติของเด็ก เช่น
- สมมุติเป็นบุคคล เช่น “ฉันเป็นพ่อ เธอเป็นแม่ ตุ๊กตานี่เป็นลูก”
- สมมุติสิ่งของและเหตุการณ์ เช่น “ฉันดื่มกาแฟ” เด็กทำท่าดื่ม โดยใช้กำปั้นเป็นถ้วย
- สมมุติการกระทำ เช่น “แม่กลับบ้าน ทำกับข้าวเสร็จแล้วมากินข้าวกันเถอะ” เด็กอธิบายก่อนแต่สภาพการณ์คือชวนกันมานั่งทำท่าจะกินอาหาร
- สมมุติเหตุการณ์ เช่น ตี้ต่างนี่เป็นโรงพยาบาลมีคนไข้เยอะแยะ หมอกำลัง จะตรวจคนไข้
6. ความสามารถในการใช้ภาษากับตนเองหรือการคิด ได้ลำดับพัฒนาการ ในการพูดกับตนเองหรือคิดดังๆ ของเด็กอายุ ระหว่าง 4-7 ปีว่า
ขั้นที่ 1 เล่นคำหรือวลี โดยพูดกับตนเอง เช่น “อะไรน้ากลมๆ อยู่บนท้องฟ้า”
ขั้นที่ 2 พูดกับสิ่งไม่มีชีวิตอื่น เช่น พูดกับนิ้วและทำท่าว่า “นี่กลับมาอยู่บ้านนะ” หรือบรรยายการกระทำของตนเอง
ขั้นที่ 3 จะเป็นการซักถามตนเองและตอบตนเอง เช่น “เธอรู้ไหม ทำไมเราต้องทำอย่างนี้” “ก็เพราะฉันอยากให้เป็นอย่างนี้นี่นา”
ขั้นที่ 4 จะเป็นการพึมพำกับตนเอง
ขั้นที่ 5 คิดในใจเงียบๆ
สำหรับการวัดและประเมินการคิด ส่วนใหญ่จะเป็นการวัดความสามารถ ในการจำ เช่น วางบัตรรูปภาพ 3 ใบขึ้นไป เรียงให้เด็กดู แล้วสลับที่บัตรและให้เด็กชี้ลำดับเดิม
7. ความสามารถในการวิเคราะห์เสียง คำ และประโยคในภาษาอย่างง่ายๆ ได้ ความสามารถในการวิเคราะห์เสียง คำ และประโยค เช่น
- เมื่อครูออกเสียง ปา ป่า หรือ กับ กัด เด็กสามารถบอกว่าแตกต่างกัน
- เด็กสามารถเติมคำขยายความได้ เช่น นกตัวเล็กๆ น่าสงสาร ยายแก่จริงๆ
ความสามารถในการสังเกตความแตกต่างของเสียงและความหมายของคำและประโยค จะเป็นพื้นฐานที่สำคัญอย่างหนึ่งในการที่จะช่วยให้อ่านหนังสือออก
8. ความสามารถในการแปลความและเปลี่ยนความในภาษาได้ การแปลความนั้น คือ การให้เด็กอธิบายความหมาย เช่น “มะม่วงคืออะไร” ครูอธิบายเป็นตัวอย่างว่า “มะม่วงคือสิ่งที่กินได้ มีเม็ด มาจากต้นไม้ และเป็นผลไม้ แล้วครูก็ให้เด็กอธิบายคำอื่นๆ ถ้าในระดับประโยคครูอาจให้ดูรูปภาพแล้วให้เด็กอธิบายภาพ
ส่วนการเปลี่ยนความนั้น คือ การให้การเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจากรูปแบบตัวอย่าง เช่น ครูให้เด็กออกเสียง “มา นา ตา” “บิน ดิน กิน” แล้วครูให้เด็กคิดคำคล้องจองอื่นๆ เช่น มีคำอะไรบ้างที่คล้องจองกับ “นก” “วิ่ง” หรือ ครูอธิบายรูปภาพเป็นประโยค เช่น แมวกำลังเล่นลูกบอล แล้วให้เด็กอธิบายอีกภาพหนึ่ง โดยใช้ประโยคแบบเดียวกันแต่ต่างคำ เช่น เด็กกำลังเล่นตุ๊กตา
9. ความสามารถในการประเมินภาษาได้ วิธีการวัดความสามารถในการประเมินภาษา ครูอาจจะตั้งคำถามให้เด็กตัดสินใจ เช่น
- คำไหนที่คล้องจองกับ “ไก่” : กุ้ง ไข่
- คำไหนที่หมายถึง “ไม่เย็น” : ใหญ่ ร้อน
- ครูชูภาพเด็กชายสองคนกำลังปีนต้นไม้และมีเด็กผู้หญิงสองคนยืนดูดอยู่ใต้ต้นไม้ ครูถามว่าประโยคต่อไปนี้ประโยคใดที่อธิบายเกี่ยวกับภาพนี้
: วัวอยู่ใต้ต้นไม้ (ไม่ถูก)
: ชายสี่คนอยู่ในรถ (ไม่ถูก)
: เด็กผู้หญิงยืนอยู่บนพื้นดิน (ถูก)
หรือครูอาจจะถามต่อไปว่า รูปภาพนี้จะตอบคำถามใดใน 2 คำถามนี้
: เด็กผู้ชายอยู่ที่ไหน (ถูก)
: เด็กผู้หญิงรับประทานอะไร (ไม่ถูก)
10. การวัดและประเมินเจตพิสัยทางภาษา วิธีการวัดและประเมินเจตพิสัยทางภาษานั้น ครูจะต้องใช้วิธีสังเกตเด็ก และฟังการพูดสนทนาของเด็กในกิจกรรมและสถานการณ์ต่างๆ เช่น เมื่อเด็กมาถึงโรงเรียนตอนเช้า เด็กเป็นคนเริ่มสนทนากับบุคคลอื่นหรือไม่และอย่างไร เมื่ออยู่ในชั้นเรียนเด็กอาสาออกมาพูดหรือเล่าเรื่องหรือไม่อย่างไร เด็กช่างซักถามหรือไม่ และซักถามอย่างไรบ้าง
11. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการใช้ภาษา ได้ให้แนวในการวัดและประเมินความคิดสร้างสรรค์ในการใช้ภาษา ดังนี้
1) จำนวนครั้งของคำถามคำตอบ (Fluency) เช่น ให้ดูรูปภาพแล้วให้เด็ก ตั้งคำถามเกี่ยวกับในภาพให้มากที่สุด หรือให้ทายเหตุการณ์ในภาพให้มากที่สุด
2) มีความยืดหยุ่น (Flexibility) ในการใช้ภาษา เช่น จากรูปภาพเดิมให้เด็ก ลองทายว่า ผลของเหตุการณ์ในภาพนั้นจะเป็นอย่างไรบ้าง หรือให้ดูภาพของเล่นแล้วให้เสนอวิธีการปรับปรุงแก้ไข
3) มีความใหม่แปลก (Originality) เช่น ให้เด็กคิดวิธีแปลกๆ ในการใช้วัสดุสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
4) มีความสามารถต่อเติมเพิ่มรายละเอียดหรือขยายความ (Elaboration) ได้แก่ ความสามารถในการขยายใจความของข้อความ หรือในการขยายใจความของข้อความ หรือใช้คำขยายต่างๆ ได้มาก เช่น เด็กผมสีทองตัวเล็กเดินเข้าไปในบ้านสีขาวน่ารักของหมีสามตัวที่อยู่ในป่า
ส่วนการวัดและประเมินพัฒนาการทางภาษาโดยใช้หลักพัฒนาการ ก็จะใช้วิธีการสังเกตโดยเด็กไม่รู้ตัว และการทดสอบโดยตรงโดยให้พูดหรือกระทำตามคำสั่งของผู้ทดสอบ
2.การสนทนา
ครูหรือผู้ทดสอบอาจจะสนทนากับเด็กเพื่อให้ได้ข้อมูลความสามารถ
ในการใช้ภาษาของเด็ก
3.ผลงาน
ครูหรือผู้ทดสอบจะเก็บผลงานของเด็กที่สะท้อนความสามารถในการใช้ภาษาเช่นการ
บรรยายใต้ภาพ การเขียนอย่างไม่เป็นทางการ การเขียนอิสระ
4.การสัมภาษณ์
ครูหรือผู้ทดสอบอาจจะสัมภาษณ์เด็กหรือผู้ปกครองของเด็กเพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับความสามารถในการใช้ภาษาของเด็ก ในการสัมภาษณ์ครูหรือผู้ทดสอบอาจจะใช้ การสัมภาษณ์แบบเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการก็ได้
5.แบบทดสอบ
ในการใช้แบบทดสอบมาตรฐานเพื่อวัดและประเมินพัฒนาการทางภาษาของเด็กนั้นจะมีจุดประสงค์ที่สำคัญ คือ
1. เพื่อใช้ในการสำรวจคัดแยก (Screening Test) เพื่อทราบว่าเด็กได้พัฒนาตามวัยหรือไม่เพื่อจะได้หาทางช่วยเหลือเป็นรายบุคคลต่อไป
2. เพื่อใช้ในการวินิจฉัย (Diagnostic Test) เพื่อทราบว่าเด็กมีจุดเด่นจุดด้อยในเรื่องใด เพื่อจะได้ช่วยเหลือและส่งเสริมได้เหมาะสม
3. เพื่อวัดความสามารถทางภาษา (Achievement Test) เพื่อทราบระดับความสามารถทางภาษาของเด็ก
ส่วนผลการของการใช้แบบทดสอบ ควรจะช่วยให้ครู ผู้ปกครองและผู้บริหารการศึกษาได้จัดโปรแกรมการสอนแผนประสบการณ์หรือหลักสูตรให้เหมาะสมในการพัฒนา และส่งเสริมเด็กแต่ละคน แบบทดสอบมาตรฐานไม่ควรใช้ในการสอนคัดเลือกเด็กปฐมวัย
การใช้แบบทดสอบมาตรฐานกับเด็กปฐมวัย ส่วนใหญ่จะใช้ในการสำรวจหรือคัดแยกหาเด็กที่อาจจะมีปัญหาพัฒนาการเพื่อส่งต่อไปทำการทำสอบวินิจฉัยและหาทางช่วยเหลือต่อไป (Mc Murrain. 1979)
แบบทดสอบมาตรฐานทางภาษาของเด็กปฐมวัยในประเทศไทยยังไม่มีการจัดทำขึ้นโดยเฉพาะ แต่จะมีเป็นส่วนหนึ่งในการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยในแบบทดสอบคัดแยก (Screening Test) ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างจาก 2 แบบทดสอบคัดแยก คือ แบบทดสอบพัฒนาการของเดนเวอร์ และแบบทดสอบคัดแยกเด็กแป้นหมุน 1
แบบทดสอบพัฒนาการของเดนเวอร์ ใช้ทดสอบเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 ปี ซึ่งได้ปรับมาใช้กับเด็กไทยกลุ่มตัวอย่างของเด็กที่ทำการศึกษาเป็นเด็กอายุแรกเกิดถึง 6 ปี จำนวน 1,442 คน ชาย 639 คน หญิง 803 คน ในกรุงเทพมหานคร ตัวอย่างแบบทดสอบที่ใช้วัดพัฒนาการทางด้านภาษาและการได้ยิน (พูนสุข สริยาภรณ์ และคณะ. 2532 : 38-44) มีดังนี้
บอกชื่อและนามสกุล*
วิธีทดสอบ ถามเด็กว่า “หนูชื่ออะไร” ถ้าเด็กบอก แต่ชื่อให้ถามว่า “นามสกุลอะไร”
การให้คะแนน ให้ผ่านถ้าเด็กตอบได้ถูกต้องทั้งชื่อและนามสกุล (ไม่จำเป็นต้องสมบูรณ์) บอกชื่อเล่นก็ได้สำหรับชื่อตัว ถ้าเด็กไม่ยอมพูดระหว่างทดสอบ ให้ถามพ่อ/แม่เด็กบอกได้หรือไม่
* ให้ผ่าน ถ้าพ่อ/แม่ หรือพี่เลี้ยง บอกว่าเด็กทำได้
|
เข้าใจคำว่า หนาว เหนื่อย หิว*
วิธีทดสอบ ผู้ทดสอบถามเด็กทีละคำถาม
“เวลาหนูเหนื่อยหนูทำอย่างไร”
(ไปนอน, นั่งลง, พักผ่อน)
“เวลาหนูหนาวหนูทำอย่างไร”
(ใส่เสื้อผ้า, ห่มผ้า, เข้าในบ้าน)
“เวลาหนูหิวทำอย่างไร”
การให้คะแนน ให้ผ่าน ถ้าเด็กตอบคำได้ถูกต้องกับคำถาม
ได้ 2 ใน 3
* ให้ผ่าน ถ้าพ่อ/แม่ หรือพี่เลี้ยง บอกว่าเด็กทำได้
|
เข้าใจคำบุพบท (3 ใน 4 คำ)
วิธีทดสอบ ผู้ทดสอบควรจะบอกพ่อ/แม่ว่า ให้อยู่เฉยๆ แล้วส่งบล็อกให้เด็ก ให้เด็กทำตามคำบอก ทีละคำ
“วางบล็อกอันนี้บนโต๊ะ”
“วางบล็อกอันนี้ใต้โต๊ะ”
“วางบล็อกอันนี้ไว้หน้าเก้าอี้ของคุณแม่”
“วางบล็อกอันนี้ไว้หลังเก้าอี้”
การให้คะแนน ให้ผ่าน ถ้าเด็กทำตาม 3 ใน 4 คำสั่ง
ได้ถูกต้อง
|
แต่งประโยค (3 ใน 3)
วิธีทดสอบ ให้แน่ใจก่อนว่า เด็กสามารถได้ยินคำถามจากผู้ทดสอบถามคำถามทีละคำถาม
“ช้อนทำจากอะไร”
“รองเท้าทำจากอะไร”
“ประตูทำจากอะไร”
ให้เวลาแก่เด็กที่จะตอบคำถาม อาจทวนคำถามซ้ำได้ 3 ครั้ง
การให้คะแนน ให้ผ่าน ถ้าเด็กตอบว่า
- ช้อนทำจากโลหะ(หรือเหล็ก,พลาสติก,
ไม้)
- รองเท้าทำจากหนังสัตว์, ยาง, พลาสติก
หรือผ้า
- ประตูทำจากไม้หรือเหล็ก
|
ที่มา (พูนสุข สริยาภรณ์ และคณะ. 2532 : 38-44)
1. การเปล่งเสียงพูด
ผู้ทดสอบพูดว่า “(เรียกชื่อนักเรียน)” ผู้ทดสอบวางแป้นหมุนสำหรับเปล่งเสียงบนโต๊ะ แล้วผู้ทดสอบพูดว่า “(เรียกชื่อเด็ก)” ดูรูปนี้นะ “บอกซิว่านี่เป็นรูปอะไร”
ผู้ทดสอบเริ่มต้นด้วยรูป “ฟัน” แล้วก็ดูรูปถัดไปโดยเคลื่อนไปตามทิศทาง ของเข็มนาฬิกา หากเด็กไม่ตอบเลย ผู้ทดสอบจะกล่าวว่า “หนูพูดคำว่า…. ซิ” หากเด็กตอบผิด หรือออกเสียงไม่ถูกต้อง ผู้ทดสอบจะต้องบอกคำที่ถูกต้องทันที
ผู้ทดสอบเขียนวงกลมรอบทุกคำที่นักเรียนตอบถูก
ผู้ทดสอบขีดฆ่าตัวพยัญชนะที่ขีดเส้นใต้ในกระดาษแบบกรอกคะแนนทดสอบ ซึ่งเป็นตัวพยัญชนะที่เด็กออกเสียงไม่ชัด
การให้คะแนน ให้ 1 คะแนน ถ้าเด็กออกเสียงได้ถูกต้องโดยไม่มีตัวอย่าง (คะแนนสูงสุดเท่ากับ 29) และให้ 1/2 คะแนน หากเด็กออกเสียงได้ถูกต้องเมื่อมีตัวอย่าง (ออกเสียงตามผู้ทดสอบ) (คะแนนสูงสุดเท่ากับ 15)
2. การให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง
ผู้ทดสอบพูดว่า “หนูดูรูปนี้ซิ” (คราวนี้ไม่ต้องเรียกชื่อเด็ก) ผู้ทดสอบให้เด็ก ดูรูปของเขาจากรูปถ่ายหรือจากกระจกเงาก็ได้
ผู้ทดสอบรอดูปฏิกิริยาของเด็ก หากเด็กไม่แสดงปฏิกิริยาอะไรเลย ผู้ทดสอบพูดว่า “รูปใครอยู่ในกระจก”
หากเด็กตอบเฉพาะชื่อโดยไม่ตอบตามสกุลด้วย ให้ปฏิบัติต่อไปตามข้อ 2.6
หากเด็กตอบทั้งชื่อและนามสกุล ให้ปฏิบัติต่อไปตามข้อ 2.7
ผู้ทดสอบถามว่า “หนูชื่ออะไร” ถ้าเด็กตอบชื่อเล่นให้ถามว่า “ชื่อจริง ชื่ออะไรคะ”
หากเด็กตอบเฉพาะชื่อโดยไม่ตอบนามสกุลด้วย ผู้ทดสอบจะถามต่อไปอีกว่า “(เรียกชื่อเด็ก) นามสกุลอะไร”
ผู้ทดสอบพูดว่า “(เรียกชื่อเด็ก) อายุเท่าไร” เด็กอาจตอบคำถามด้วยการพูดหรืออาจจะแสดงการนับด้วยนิ้วมือ หากเด็กตอบไม่ตรงกับจำนวนนิ้วมือที่เด็กแสดงให้ผู้ทดสอบให้คะแนนที่การพูด
หากเด็กที่ทดสอบเป็นเด็กชาย ผู้ทดสอบถามเด็กว่า “หนูเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง” หากเด็กที่ทดสอบเป็นเด็กหญิง ผู้ทดสอบจะต้องถามเด็กว่า “หนูเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย”
ผู้ทดสอบถามว่า “บ้านหนูเลขที่เท่าไร จังหวัดอะไร” หากเด็กไม่ตอบให้ถามใหม่ว่า “บ้านหนูอยู่ไหน” ผู้ทดสอบตรวจที่อยู่ของเด็กได้ที่หัวกระดาษกรอกคะแนน
ผู้ทดสอบถามเด็กว่า “โทรศัพท์ที่บ้านของหนูหมายเลขอะไร”
ผู้ทดสอบวงรอบคำตอบที่ถูกต้องในกระดาษแบบกรอกคะแนนทดสอบ
หมายเหตุ คำตอบที่ถือว่าถูกต้อง ได้แก่ ชื่อเด็ก นามสกุล อายุ เพศ บ้านเลขที่ จังหวัด หมายเลขโทรศัพท์ หากที่บ้านเด็กไม่มีโทรศัพท์ เด็กจะได้คะแนนฟรีสำหรับข้อนี้
การให้คะแนน ให้ 1 คะแนน สำหรับคำตอบที่ถูกต้อง (คะแนนสูงสุดเท่ากับ 6)
3. การบอกคำนาม
ผู้ทดสอบวางแป้นหมุนภาษา 1 ไว้บนโต๊ะแล้วหมุนไปยังภาพแรก (รูปสุนัข) ผู้ทดสอบพูดว่า “(เรียกชื่อนักเรียน) บอกครูซิว่านี่รูปอะไร” หากเด็กไม่ตอบคำถามจะไม่ได้คะแนน แต่ผู้ทดสอบจะต้องพูดต่อไปว่า “นี่คือรูปแรก” “พูดคำว่าหมาซิ” แล้วให้เด็กพูดตาม
ผู้ทดสอบหยุดชั่วครู่ก่อนที่จะถามเด็กในภาพต่อไป ไม่ว่าเด็กจะตอบคำถามหรือไม่ ผู้ทดสอบจะต้องถามด้วยคำถามในข้อ 3.1 สำหรับภาพถัดไป ปฏิบัติเช่นนี้จนครบ 9 ภาพ โดยหมุนแป้นภาพตามทิศทางของเข็มนาฬิกา
ให้ผู้ทดสอบวงรอบคำนามในกระดาษแบบกรอกคะแนนทดสอบ หากเด็กตอบชื่อคำนั้นได้ถูกต้อง หากเด็กตอบอย่างอื่น ให้ปฏิบัติต่อไปดังนี้
หากเด็กตอบคำถามใดไม่ได้หรือตอบผิดให้ผู้ทดสอบใช้แป้นหมุนภาษา 2 ซึ่งประกอบด้วยทั้งหมด 10 ภาพ เพื่อทดสอบเพิ่มเติม
ผู้ทดสอบตรวจดูคำตอบของเด็กในกระดาษแบบกรอกคะแนนทดสอบว่า มีคำใดที่ยังมิได้วงรอบบ้างและเลือกถามเด็กเพิ่มเติมเฉพาะคำที่มิได้วงรอบ ผู้ทดสอบพูดว่า “(เรียกชื่อเด็ก) บอกครูซิว่า (คำตอบที่เด็กตอบไม่ได้) อยู่ที่ไหน” ให้ผู้ทดสอบเริ่มจากภาพรถพยาบาลต่อไปจนถึงภาพแมว ซึ่งเป็นการเรียงลำดับกลับกันกับการทดสอบข้างบน
ผู้ทดสอบขีดเส้นใต้คำนามที่เด็กตอบถูก
คำตอบต่อไปนี้เป็นคำตอบที่ถูกต้อง
ตัวอย่าง สุนัข หมา ลูกสุนัข หรือชื่อพันธุ์สุนัข
1. แมว ลูกแมว อีเหมียว ชื่อแมว
2. เครื่องบิน บิน ไอพ่น
3. รถยนต์ รถเก๋ง รถ ชื่อยี่ห้อรถ
4. โทรศัพท์ โท-ศัพท์
5. ทีวี โทรทัศน์ โท-ทัศน์
6. นาฬิกา นากิกา นาอิกา
7. หวี
8. ดินสอดำ ดินสอ
9. รถพยาบาล รถหวอ รถคนป่วย รถช่วยคนป่วย
การให้คะแนน ให้ 2 คะแนน สำหรับทุกคำในวงกลม (คะแนนสูงสุดเท่ากับ 18) และให้ 1 คะแนน สำหรับคำที่ขีดเส้นใต้ (คะแนนสูงสุดเท่ากับ 9)
4. บอกคำกริยา
ผู้ทดสอบหมุนแป้นหมุนภาษา 1 ไปที่ภาพแรกอีกครั้ง (ภาพสุนัข) แล้วพูดว่า “(เรียกชื่อเด็ก) บอกครูซิว่าหมากำลังทำอะไร” หากเด็กไม่ตอบจะไม่ได้คะแนน แต่ผู้ทดสอบพูดว่า “กินข้าว หมากินข้าว พูดคำว่า “กินซิ” ” แล้วให้เด็กพูดตาม
ให้ผู้ทดสอบปฏิบัติเช่นเดียวกับข้อ 4.1 สำหรับ 2 ภาพถัดไป
สำหรับภาพถัดไป 7 ภาพ ให้ผู้ทดสอบถามเด็กว่า “เรามีสิ่งนี้ไว้ทำไม”(เริ่มจากภาพรถ)
ผู้ทดสอบวงรอบคำกริยาที่เด็กตอบถูกในกระดาษแบบกรอกคะแนนทดสอบ หากเด็กตอบอย่างอื่นให้ปฏิบัติดังนี้
หากเด็กตอบคำถามใดไม่ได้หรือตอบผิดให้ผู้ทดสอบใช้แป้นหมุนภาษา 2 ซึ่งประกอบด้วยภาพทั้งหมด 10 ภาพ เพื่อทดสอบเพิ่มเติม
ผู้ทดสอบตรวจดูคำตอบของเด็กในกระดาษแบบกรอกคะแนนทดสอบว่า มีคำใดที่ยังมิได้วงรอบและเลือกถามเด็กเพิ่มเติมเฉพาะคำที่มีได้วงรอบ ผู้ทดสอบพูดว่า “หนูบอกครูซิว่าภาพไหนที่…”ให้ผู้ทดสอบเริ่มด้วยคำว่า “นำคนเจ็บส่งโรงพยาบาล” “และนอนหลับ” ซึ่งเป็นการเรียงลำดับกลับกันกับการทดสอบข้างบน
ผู้ทดสอบขีดเส้นใต้คำกริยาที่เด็กตอบถูกต้อง
คำตอบต่อไปนี้เป็นคำตอบที่ถูกต้อง
ตัวอย่าง กิน เคี้ยว
1. นอน หมอบ หลับตา
2. บิน เหาะ ร่อน ไปในท้องฟ้า เข้าไปในเมฆ
3. ขับ ขี่ วิ่ง เดินทาง ไปเที่ยว นั่ง
4. เรียก ตอบ พูด หมุน พูด พิง พูดว่า “สวัสดี” ยกหูขึ้น ใครโทรมา กดปุ่ม รับ คุยกัน
5. ดู (หนึ่ง, ละคร…) เปิด ปิด
6. เปิด ปิด ดูเวลา ตั้งเวลา หมุน ไขลาน ปลุก บอกเวลา
7. หวีผม
8. เขียน วาดรูป ทำการบ้าน ระบายสี แลเงา
9. ส่งคนป่วยไปโรงพยาบาล ช่วยคนเจ็บ ส่งคนเจ็บ ช่วยคนเจ็บไปโรงพยาบาล ขนคนเมื่อมีรถชนกันเวลารถชนกันคนเจ็บอยู่ข้างใน
การให้คะแนน ให้ 2 คะแนน สำหรับทุกคำในวงกลม (คะแนนสูงสุดเท่ากับ 18) ให้ 1 คะแนน สำหรับคำตอบทุกคำที่ขีดเส้นใต้ (คะแนนสูงสุดเท่ากับ 9)
5. การเรียกชื่ออาหาร
ผู้ทดสอบพูดว่า “(เรียกชื่อเด็ก) บอกครูซิว่าอาหารที่หนูกินมีอะไรบ้าง”
หากเด็กแสดงอาการลังเลและไม่ตอบ ผู้ทดสอบพูดว่า “บอกครูซิว่าหนูกินอะไรบ้าง เช่น กินข้าว”
ให้เด็กบอกชื่ออาหารไปเรื่อยๆ โดยผู้ทดสอบพูดว่า “มีอะไรอีกบ้าง” จนกระทั่งเด็กบอกชื่อสิ่งที่เป็นอาหารได้ 8 ชื่อ จึงให้เด็กหยุด
ให้ผู้ทดสอบวงกลมรอบจำนวนชื่ออาหารที่เด็กตอบถูก ถ้าครูยกตัวอย่างว่า ข้าวเป็นอาหาร หากเด็กตอบคำว่า “ข้าว” อีกไม่นับคำนี้เป็นคำตอบ หากเด็กตอบชื่อยี่ห้ออาหาร ให้ถือเป็นคำตอบถูก อาหารเช้า อาหารกลางวัน และอาหารเย็นไม่ถือเป็นคำตอบที่ถูกต้อง สิ่งใดที่รับประทานได้ ถือว่าเป็นคำตอบที่ถูกต้องทั้งสิ้น อาหารประเภทน้ำ เช่น นม น้ำส้ม ให้ถือเป็นคำตอบที่ถูกต้อง
การให้คะแนน ให้ 1 คะแนน สำหรับชื่ออาหารทุกชื่อที่เด็กบอกถูก (คะแนนสูงสุดเท่ากับ 8)
6. การแก้ปัญหา
ผู้ทดสอบพูดว่า “(เรียกชื่อเด็ก) เวลาหนูหิวหนูทำอย่างไร” หากเด็กไม่ตอบหรือตอบในสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับการรับประทานอาหาร ผู้ทดสอบพูดต่อว่า “หนูทำอย่างไร เวลาหนูหิว” หากเด็กยังไม่ตอบให้ถือว่า การทดสอบในชุดนี้สิ้นสุดลงแล้วและเด็กจะได้ 0 คะแนน ในข้อ 8 ซึ่งเป็นการให้คะแนนความยาวของประโยค
ผู้ทดสอบถามเด็กต่อด้วยคำถามต่อไปนี้
“ถ้าหนูจะเข้าไปในห้องที่มืด หนูจะทำอย่างไร”
“ถ้าหนูจะออกไปข้างนอก แต่ฝนกำลังตกหนูจะทำอย่างไร”
“ถ้าหนูทำข้าวของของคนอื่นตกแตกหนูจะทำอย่างไร”
ให้ผู้ทดสอบบันทึกคำตอบแรกที่ประกอบด้วยคำ 5 คำขึ้นไปหรือคำตอบที่ยาวที่สุด
การให้คะแนน ให้ 2 คะแนนสำหรับทุกคำตอบที่เป็นการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด (คะแนนสูงสุดเท่ากับ 4)
7. ความยาวของประโยคผู้ทดสอบนับจำนวนคำในประโยคที่ยาวที่สุด เด็กตอบในข้อ 6 การให้คะแนน ให้คำละ 1 คะแนน (คะแนนสูงสุด เท่ากับ 8)
ตารางที่ 10.2 แบบประเมินพัฒนาการการอ่านออกเขียนได้ของเด็ก 0-6 ปี
ชื่อเด็ก………………………………………………..
วันที่………………………………………………….
ก. ด้านพัฒนาการทางภาษา
|
สม่ำเสมอ
|
บางครั้ง
|
ไม่เคยเลย
|
1. พูดน้อยมาก
| |||
2. พูดคำพยางค์เดียว
| |||
3. พูดโดยใช้คำ 2 พยางค์
| |||
4. แสดงอาการยอมรับเสียงที่คุ้นเคย
| |||
5. บอกความแตกต่างของเสียงที่คล้ายคลึงกัน
| |||
6. เข้าใจคำพูดของผู้อื่นเวลาสนทนากัน
| |||
7. ทำตามคำสั่ง
| |||
8. พูดกับผู้อื่นอย่างเป็นธรรมชาติ
| |||
9. อ่านคำได้เป็นคำๆ อย่างถูกต้อง
| |||
10. รู้จักคำศัพท์ที่เหมาะกับระดับวุฒิภาวะ
| |||
11. พูดเป็นประโยคที่สมบูรณ์
| |||
12. ใช้ไวยากรณ์สร้างรูปประโยคที่หลากหลาย
| |||
13. พูดให้ผู้อื่นเข้าใจได้
| |||
ข. ด้านทัศนคติและความสนใจในการอ่าน
| |||
1. สนใจดูภาพ
| |||
2. ต้องการให้อ่านให้ฟัง
| |||
3. สนใจฟัง ผู้อื่นอ่านให้ฟัง
| |||
4. ซักถามคำถามและพูดคุยถึงเนื้อเรื่องที่มีคนอ่าน ให้ฟัง
| |||
ค. ด้านความคิดรวบยอดเกี่ยวกับหนังสือ
| |||
1. รู้ว่าหนังสือมีไว้สำหรับการอ่าน
| |||
2. บอกได้ว่าส่วนไหนเป็นปก ด้านบน ด้านล่าง
| |||
3. เปิดพลิกหน้าหาภาพที่ต้องการได้ถูกต้อง
| |||
4. บอกความแตกต่างระหว่างตัวพิมพ์และตัวเขียนได้
| |||
5. โยงความสัมพันธ์ระหว่างตัวหนังสือกับภาพได้
|
สม่ำเสมอ
|
บางครั้ง
|
ไม่เคยเลย
| |
6. โยงได้ว่าจะต้องเริ่มต้นอ่านจากส่วนใดของหนังสือ
| |||
7. บอกชื่อเรื่องได้
| |||
8. ชี้ชื่อผู้แต่งหนังสือและชื่อผู้วาดภาพได้
| |||
ง. ด้านความเข้าใจในเนื้อเรื่อง
| |||
1. เล่าเรื่องจากภาพได้
| |||
2. เล่าเรื่องจากความจำได้
| |||
3. เล่าเรื่องในลักษณะทำเสียงสูงต่ำได้
| |||
4. บอกจุดเริ่มของเรื่อง ลำดับเวลา สถานที่เกิดเหตุ และชื่อตัวละคร พร้อมบทบาทได้
| |||
5. บอกชื่อเรื่องและปัญหาที่เป็นเงื่อนปมของเรื่องได้
| |||
6. บอกเหตุการณ์ที่คลี่คลายปัญหาของเนื้อเรื่องหรือตัวละครได้
| |||
7. วาดรูปแสดงความเข้าใจในเรื่องที่ได้ฟัง
| |||
8. วิเคราะห์ตัวละคร ตั้งคำถามเกี่ยวกับตัวละครได้
| |||
9. มีส่วนร่วมในพฤติกรรมการอ่านได้
| |||
10. หลังจากการฟังนิทานแล้ว ตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่ได้ฟังได้
| |||
จ. ด้านความคิดรวบยอดเกี่ยวกับตัวอักษร
| |||
1. รู้ว่าตัวพิมพ์เริ่มอ่านจากซ้ายไปขวา
| |||
2. รู้ว่าภาษาพูดสามารถเขียนเป็นภาษาเขียนและอ่านเป็นภาษาอ่านได้
| |||
3. รู้จักตัวอักษร และชี้ได้ถูก
| |||
4. ชี้คำที่ครูบอกได้ถูกต้อง
| |||
5. อ่านคำได้
| |||
6. จดจำคำได้
| |||
7. เรียกชื่อพยัญชนะได้ถูกต้อง
| |||
8. รู้ว่าตัวหนังสือสามารถนำมาเขียนรวมกันเป็นคำได้
| |||
9. ออกเสียงพยัญชนะได้ถูกต้อง
|
สม่ำเสมอ
|
บางครั้ง
|
ไม่เคยเลย
| |
10. อ่านจากรูปภาพได้
| |||
11. อ่านจากพยัญชนะที่ประกอบกันเป็นคำได้
| |||
12. โยงความสัมพันธ์ระหว่างคำเป็นผูกคำเป็นประโยคได้
| |||
ฉ. ด้านปัญหาในการเขียน
| |||
1. สำรวจและทำความรู้จักกับอุปกรณ์ในการเขียน
| |||
2. พยายามเขียนด้วยภาพ โดยไม่คำนึงถึงการอธิบายภาพ
| |||
3. เขียนเรื่องหรือประโยคตามคำบอก
| |||
4. คัดตัวอักษร หรือคำ
| |||
5. ตัดตามที่ครูบอก
| |||
6. เขียนจากซ้ายไปขวา
| |||
ช. จากข้อ 7-13 ให้เชค/หน้าข้อความด้านซ้ายมือและ ในช่องขวามือซึ่งตรงกับพฤติกรรมการสอนเขียน
| |||
7. ใช้การวาดส่งเสริมการเขียน
| |||
8. สอนให้เห็นความแตกต่างระหว่างการเขียนและการวาด
| |||
9. ขีดเส้นนอนเป็นแนวให้ก่อนการสอนเขียน
| |||
10. ใช้แบบฝึกลีลามือ (ลากเส้นตามรอยประ) ในการสอนเขียน
| |||
11. ใช้ตัวพยัญชนะที่รู้จัก หรือเรียนไปแล้วในการฝึกเขียน
| |||
12. ใช้ตัวสะกดที่รู้จักในการฝึกเขียน
| |||
13. ใช้คำในหนังสือในการสอนเขียน
|
ถอดความจาก Checklist for Assessing Early Childhood Development
จาก Preparing and Organization the Environment
ผู้ถอดความ ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิทยาภรณ์ มานะจุติ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น